ความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมกับการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การบริหารสถานศึกษา, การบริหารบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากรทางการศึกษา 2) ศึกษาระดับการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมกับการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 385 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.77 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของบุคลากรทางการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีความคิดเห็นอันดับที่ 1 คือด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและอันดับสุดท้าย คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ตามลำดับ 2) การบริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือด้านการบริหารวิชาการ รองลงมาคือด้านบริหารทั่วไป ด้านบริหารงบประมาณ และอันดับสุดท้ายคือ ด้านบริหารบุคคล ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมกับการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยภาพรวม มีค่าความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2544). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองกับโรงเรียน. วารสารการศึกษาปฐมวัย, 5(4), 30-37.
เกษมศรี จาตุรพันธ์ และ ศิริชัย ชินะตังกูร. (2555). การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับธรรมาภิบาลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2(2), 241–247.
นาวิน แกละสมุทร. (2562). การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(3), 569–580.
ในตะวัน กำหอม. (2559). การวิจัยทางการศึกษา.เล่ม 1. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยทองสุข. โรงพิมพ์ทีคอม.
บรรณรฐา ทองสุบรรณ. (2563). การบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนชุมชนบ้านทะเลทรัพย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชุมพร เขต 1,หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : วิทยาลัยทองสุข.
พงษ์ล้วน อุดหนุ่น. (2565). การมีส่วนร่วมกับการจัดการสถานศึกษาของผู้ปกครอง โรงเรียนบ้านหนองแวง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยทองสุข.
พีรณันต์ สุขสมบูรณ์. (2553). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนวัดราษฎรรังสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
เพ็ญโฉม โพธิจักร. (2563). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานสถานศึกษาของชุมชน โรงเรียนชุมชนบ้านขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : วิทยาลัยทองสุข.
ศุภรัตน์ ปุ้งข้อ. (2558). สภาพการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในกลุ่มเครือข่ายเขาฉกรรจ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). เด็กปฐมวัยของสหรัฐอเมริกา. รายงานการพัฒนาและการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวาน กราฟฟิก จำกัด.
สำเนียง ชูชีพ. (2563). บทบาทต่อการบริหารแบบส่วนร่วมของผู้ปกครองโรงเรียนวัดถนน อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : วิทยาลัยทองสุข.
อนุวัฒน์ ทัศบุตร. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงาน เป็นทีมที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. การค้นคว้าอิสระ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อารีย์ วุ่นบำรุง. (2562). ปัจจัยการบริหารที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 5(1), 23-35.
Best, J.W. and Kahn, J.V. (2006). Research in Education. 10th Edition. Cape Town : Pearson Education Inc.
Herzberg, F. (1959). The motivation to work (2nd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
McGregor, D. (1960). The human side of enterprise. New York: McGraw-Hill.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันพอดี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.