ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมผู้บริหารกับการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ผู้แต่ง

  • พิไลวรรณ์ ธรรมเพ็ชร สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
  • ในตะวัน กำหอม สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
  • ทิพย์วรรณ มูลศาสตร์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม, การบริหารสถานศึกษา, การบริหาร

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมผู้บริหารของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารสานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมผู้บริหารกับการบริหารสานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 385 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.897 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความยุติธรรมได้รับคะแนนเฉลี่ยสูงสุด และด้านการเอาใจใส่ได้รับคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด 2) การบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยการบริหารงานวิชาการได้รับคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ส่วนการบริหารงานทั่วไปได้รับคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด 3) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการบริหารสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์สูงสุดกับการบริหารงานวิชาการ และต่ำสุดกับการบริหารงานทั่วไป

References

กมลชนก ราชสง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ธีรพัฒน์ เพชรศรีจันทร์ และ พิชญาภา ยืนยาว (2562). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐในจังหวัดอุทัยธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(5), 2233-2250.

นพรัตน์ อิสระณรงค์พันธ์. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยพะเยา.

บรรณรฐา ทองสุบรรณ. (2563). การบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานวิชาการของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนชุมชนบ้านทะเลทรัพย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชุมพร เขต 1,หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : วิทยาลัยทองสุข.

เพ็ญโฉม โพธิจักร. (2564). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานสถานศึกษาของชุมชน โรงเรียนชุมชนบ้านขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : วิทยาลัยทองสุข.

ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ทางการบริหารการศกษา. ชลบุรี : สานักพิมพ์. มนตรี จำกัด.

วันเฉลิม รูปสูง, พิชญาภา ยืนยาว และ ธีรวุธ ธาดาตันติโชค. (2564). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 22(1), 37-50.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). แนวคิด ทฤษฎีและประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์. ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์.

ศุภรัตน์ ปุ้งข้อ. (2558). สภาพการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในกลุ่มเครือข่ายเขาฉกรรจ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). คู่มือแนวทางการจัดการการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.

เสาวลักษณ์ แก้วแกมจันทร์. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Brown, M. E., Treviño, L. K., & Harrison, D. A. (2005). Ethical leadership: A social learning perspective for construct development and testing. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 97(2), 117–134.

Cronbach, Lee J. (1990). Essentials of Psychological Testing. 5 th ed. New York : Harper Collins Publishers, Inc.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York : Wiley and Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/31/2025

How to Cite

ธรรมเพ็ชร พ., กำหอม ใ., & มูลศาสตร์ ท. (2025). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมผู้บริหารกับการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วารสารสถาบันพอดี, 2(5), 1–10. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/IS-J/article/view/1608