ทานบารมีในพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • สิรินทร์ กันยาวิริยะ บริษัท ล.ธนวงศ์ (1997) จำกัด
  • ชิสา กันยาวิริยะ บริษัท ล.ธนวงศ์ (1997) จำกัด

คำสำคัญ:

ทาน, บารมี, ทานบารมี, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

 

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงวิเคราะห์ทานบารมีในพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการศึกษาพบว่า ทานคือการให้ เป็นหลักธรรมเบื้องต้นในทางพุทธปรัชญาเถรวาท และเป็นคุณูปการต่อการปฏิบัติธรรมในขั้นสูงจนกระทั่งถึงความดับทุกข์ได้ การสร้างทานบารมีมีทั้งระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง ประเภทของทานตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ประเภทที่จัดตามบุคคลผู้จะรับทาน 2) ประเภทที่จัดตามสิ่งของที่ให้ทาน 3) ประเภทที่จัดตามเป้าหมายในการให้ทาน 4) ประเภทที่จัดตามลักษณะและวิธีการให้ทาน การให้ทานที่ยั่งยืนนั้นควรให้ด้วยสติปัญญา เป็นไปเพื่อการสละออกซึ่งกิเลสของผู้ให้ สร้างเสริมให้ผู้รับสามารถพึ่งพาตนเองได้จากภายในสู่ภายนอก ส่งเสริมให้เกิดการเกื้อกูลอย่างสมดุลระหว่างผู้ให้และผู้รับ เป็นไปเพื่อการเรียนรู้สู่ความพ้นทุกข์ องค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับ ได้แก่ “7 สิ่งควรทำ – 7 สิ่งควรละ : ทานบารมี” ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อบำเพ็ญทานบารมีในชีวิตประจำวัน

 

References

ชยพล เพชรพิมล. ทฤษฎีบารมี. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 7(1), 217-229.

ชวัลวิทย์ อรุณปราการ, นวลวรรณ พูลวสุพลฉัตร และสรวิชญ์ วงษ์สอาด. (2565). การใช้บารมี 10 ในการพัฒนาตนเองและสังคม. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(1), 49-56.

ปัญญา สละทองตรง. (2544). มิลินทปัญหา เล่ม 2. กรุงเทพฯ : การศาสนา.

พระครูปริยัติปัญญารัตน์ (โสภรรณ ธนปญฺโญ). (2562). การศึกษาวัฒนธรรมการให้ในสังคมไทย. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 1(2), 17-24.

พระใบฎีกาก้องสยาม ทนฺตจิตโต (มอญไธสง). (2560). วิเคราะห์คุณค่าธรรมทานในพระพุทธศาสนาเถรวาท. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาพงศ์ศิริ ปญฺญาวชิโร. (2564). วิเคราะห์ทานบารมีในคัมภีร์อรรถกถาชาดก. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 63-73.

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช). (2558). ธรรมสารเทศนา เล่ม 2. กรุงเทพฯ : ปัญญมิตร การพิมพ์.

พระมหาวิลาส ญาณวโร. (2508). โลนาถทีปนี. กรุงเทพฯ : จำลองศิลป์.

พระรัฐพงค์ อาจิณณธมฺโม พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม และทรงศักดิ์ พรมดี. (2564). ศึกษาวิเคราะห์ การบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดรในเวสสันดรชาดก. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 12(1), 175-187.

พระสาธิต รกฺขิตวํโส (เขื่อนคําแสน) และ พระอธิการสมนึก จรโณ. (2565). ศึกษาวิเคราะห์วัตถุทานในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 11(2), 80-93.

พุทธทาสภิกขุ. (2555). อิทัปปัจจยตา หนังสือดี 1 ใน 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อรุณวิทยา.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 30. กรุงเทพฯ : ผลิธัมม์.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวิชรญาณวโรรส. (2499). ธรรมวิภาค ปริเฉทที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

________. (2514). บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาค ภาคที่ 2 สมาสและตัทธิต. กรุงเทพฯ : มหามกุฎราชวิทยาลัย.

ทานบารมีในพุทธปรัชญาเถรวาท

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/31/2024