สุขภาวะทางสังคมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท
คำสำคัญ:
สุขภาวะ, สุขภาวะทางสังคม, พุทธปรัชญาเถรวาทบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สุขภาวะทางสังคมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการวิจัยพบว่า สุขภาวะทางสังคมเริ่มต้นจากความตระหนักรู้ อันเกิดจากการมีสติปัญญาในการทบทวนตนเอง ฝึกพิจารณาความเคยชินของพฤติกรรมและความประพฤติที่เกิดขึ้นเพื่อไตร่ตรองถึงผลกระทบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปเพื่อคุณประโยชน์หรือเป็นทุกข์โทษต่อตนเองและผู้อื่น เมื่อพิจารณาเห็นว่าเป็นทุกข์ก็ฝึกการยอมรับเพื่อปรับตัว ปรับพฤติกรรมและความประพฤติต่าง ๆ ให้เป็นไปเพื่อการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น สร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ฝึกฝนตนเองจนกลายเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับบุคคลรอบตัว คือ เป็นแบบอย่าง เป็นพื้นที่ปลอดภัย เป็นความเมตตากรุณา เป็นความสบายใจ ความอบอุ่นใจเมื่ออยู่ใกล้หรือได้สนทนาด้วย เกิดความมั่นใจ ความมั่นคงจากภายในเมื่อได้ทำงานหรือได้ทำกิจกรรมใด ๆ ร่วมกัน เป็นกัลยาณมิตรที่ช่วยให้เกิดความรอบรู้อันเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตจากภายใน มีความนิ่งสงบ ไม่กระวนกระวายแส่ส่ายเมื่อถูกกระทบจากสิ่งแวดล้อม ปราศจากความฟุ้งซ่านและความรำคาญ ตลอดถึงความกลัวกังวล มีความมั่นใจในการใช้ชีวิตอย่างมีสติ มีความสุขในปัจจุบันธรรม เป็นสุขภาวะให้กับสังคมได้อย่างแท้จริง องค์ความรู้ใหม่ ได้แก่ รูปแบบสุขภาวะทางสังคมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ประกอบด้วย 1) การยอมรับทางสังคม 2) การสร้างสรรค์สังคม 3) การเป็นสังคมอุดมคติ 4) ความสอดคล้องทางสังคม 5) การหลอมรวมกันทางสังคม
References
กีรติ บุญเจือ. (2551). คู่มือจริยศาสตร์ตามหลักวิชาการสากล. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.
ชิสา กันยาวิริยะ และเมธา หริมเทพาธิป. (2565). การศึกษาเชิงวิเคราะห์หลักภาวนา 4 ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสารพุทธมัคค์, 7(2), 229-235.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง HAPPINOMETER. กรุงเทพฯ :ธรรมดาเพลส.
สิริกุล กิตติมงคลชัย. (2562). การพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิรินทร์ กันยาวิริยะ และชิสา กันยาวิริยะ. (2567). การสร้างสุขภาวะตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสารสถาบันพอดี, 1(5), 18-29.
อุเทน ลาพิงค์. (2561). การพัฒนาสุขภาวะทางสังคมของผู้สูงอายุ โดยใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในภาคเหนือ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 18(2), 233-243.
Boniwell, I. What is Eudaimonia? The Concept of Eudaimonic Well-Being and Happiness. [Online]. Retrieved from : http://positivepsychology.org.uk/pp-theory/eudaimonia/34-the-concept-of-eudaimonic-well-being.html [29 November 2023].
Brickman, P., & Campbell, D. T. (1971). Hedonic relativism and planning the good society. In M. H. Appley (Ed.), Adaptation level theory : A symposium (pp. 287-302). New York : Academic Press.
Carr, A. (2004). Positive psychology: New worlds for old. Irish Psychologist, 30(11), 278-279.
Csikszentmihalyi, M., Abuhamdeh, S., & Nakamura, J. (2005). Flow. In Handbook of competence and motivation. New York : The Guilford Press.
Diener, E., Sun, E. M., Lucas, R. E., & Smith, H. L. (1999). Subjective well-being : Three decades of progress. Psychological Bulletin, 125(2), 276.
Diener, Oishi, S., & Lucas, R. E. (2003). Personality, culture, and subjective well-being: Emotional and cognitive evaluations of life. Annual review of psychology, 54(1), 403-425.
Diener, Napa-Scollon, C. K., Oishi, S., Dzokoto, V., & Suh, E. M. (2009). Positivity and the construction of life satisfaction judgments: Global happiness is not the sum of its parts. Journal of Happiness Studies, 1(2), 159-176.
Hills, P., & Argyle, M. (2002). The Oxford Happiness Questionnaire : A compact scale for the measurement of psychological well-being. Personality and Individual Differences, 33(7) : 1073-1082.
Keyes, C. L. (1998). Social well-being. Social Psychology Quarterly, 61(2), 121–140.
Selim, S. (2008). Life satisfaction and happiness in Turkey. J Social Indicators Research, 88(3), 531-562.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.