การบริหารงานบุคคล 4 ประเภทในองค์กรตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พจนา มาโนช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การบริหาร, การบริหารบุคคล, องค์กร, บุคคล 4 ประเภท, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการรูปแบบการบริหารงานบุคคล 4 ประเภทในองค์กร ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารงานบุคคล 4 ประเภทในองค์กรเป็นการบูรณาการระหว่างแนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริหารงานบุคคล 4 ประเภทตามหลักบัว 4 เหล่าในพุทธปรัชญาเถรวาท ได้แก่ 1) บุคคลที่เข้าใจได้ทันที (อุคฆฏิตัญญู) 2) บุคคลที่ต้องการการอธิบายก่อนเข้าใจ (วิปจิตัญญู) 3) บุคคลที่ต้องใช้เวลาฝึกฝน     (เนยยะ) และ 4) บุคคลที่ยังไม่พร้อมรับการพัฒนา (ปทปรมะ) รูปแบบการบริหารงานบุคคล 4 ประเภท ประกอบด้วย 1) การบริหารงานบุคคลประเภทอุคฆฏิตัญญู 2) การบริหารงานบุคคลประเภทวิปจิตัญญู 3) การบริหารงานบุคคลประเภทเนยยะ 4) การบริหารงานบุคคลประเภทปทปรมะ รูปแบบการบริหารงานบุคคล 4 ประเภทดังกล่าวนี้ เป็นแนวทางการบริหารให้เหมาะสมกับบุคคลแต่ละประเภท เพื่อให้บุคคลแต่ละประเภทมีโอกาสเติบโตและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด การทำความเข้าใจความแตกต่างในบุคลิกภาพและความสามารถของบุคลากรจะช่วยให้ผู้นำสามารถสร้างแรงบันดาลใจและนำพาทีมไปสู่ความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ชิสา กันยาวิริยะ และสิรินทร์ กันยาวิริยะ. (2567). แรงจูงใจตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารสถาบันพอดี, 1(5), 10-17.

ณัทธีร์ ศรีดี. (2560). พุทธจริยศาสตร์กับแนวคิดเรื่องการฆ่าตัวตาย. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 1(1), 25-39.

ปัญญา นามสง่า. (2561). ดอกบัวกับการเรียนรู้ในทัศนะพุทธปรัชญา. วารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน ์, 1(2), 52-68.

พระปลัดนัฐพงศ์ ขนฺติสมฺปนฺโน (หมื่นแก้ว) และคณะ. (2566). การบริหารทรัพยากรมนุษย์4 ประเภทในองค์กร. วารสาร Journal of Modern Learning Development, 8(8), 465-477.

วรารก์ เพ็ชรดี. (2563). การศึกษาความเชื่อเรื่องการถือกำเนิดของมนุษย์ที่ปรากฏในวรรณกรรมประกอบพิธีการทำขวัญนาค : บทปฏิสนธิ. วารสารอักษราพิบูล, 1(2), 27-37.

สิรินทร์ กันยาวิริยะ และชิสา กันยาวิริยะ. (2567). การบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารสถาบันพอดี, 1(7), 27-40.

อรวรรณ ภัทรดำเนินสุข. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Bernard M. Bass and B.J. Avolio. (1994). Improving Organization Effectiveness Through Transformation Leadership. Thousand Oaks, CA : Sage Publications.

Pual Hersey and Kenneth H Blanchard. (1970). Management of Organizational : Utilizing Human Resources. New York : McGraw-HillBook Co.

การบริหารงานบุคคล 4

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/31/2024