การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนด้วยหลักพุทธธรรม
คำสำคัญ:
การพัฒนา, องค์กร, ยั่งยืน, หลักพุทธธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนด้วยหลักพุทธธรรม ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนด้วยหลักพุทธธรรม สามารถทำได้โดยการนำหลักคำสอนทางพุทธศาสนามาปรับใช้ในทุกระดับของการบริหารจัดการองค์กร เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและมีความสุขในการทำงาน ดังนี้ 1) สร้างความเข้าใจและแก้ปัญหาองค์กรด้วยหลักอริยสัจ 4 ได้แก่ การรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร (ทุกข์) หาสาเหตุปัญหาที่แท้จริงของปัญหา (สมุทัย) กำหนดเป้าหมายในการแก้ปัญหา (นิโรธ) วางแผนและดำเนินการตามวิธีการที่ถูกต้อง (มรรค) 2) สร้างความสัมพันธ์และการเกื้อกูลด้วยหลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ มีความรักและปรารถนาดีต่อทุกคนในองค์กร (เมตตา) มีความพร้อมช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาในองค์กร (กรุณา) ยินดีกับความสำเร็จของผู้อื่น (มุทิตา) มีความสงบและไม่หวั่นไหวเมื่อเจอปัญหา (อุเบกขา) 3) สร้างความสุขและความสำเร็จให้เกิดขึ้นกับองค์กรด้วยหลักอิทธิบาท 4 ได้แก่ ความรักหรือความพอใจในงาน (ฉันทะ) ความพยายามในงานอย่างต่อเนื่อง (วิริยะ) ความเอาใจใส่ใจในงาน (จิตตะ) การใช้ปัญญาไตร่ตรองในงานเพื่อปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (วิมังสา) สำหรับองค์ความรู้ใหม่ที่ได้ก็คือ รูปแบบการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนด้วยหลักพุทธธรรมเพื่อนำไปสู่การสร้างความสุขและความสำเร็จให้เกิดขึ้นกับองค์กร
References
นิตยา พรมกันทา และคณะ. (2562). โครงการสำรวจสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทประเทศไทยและทางเลือกมาตรการทางเศรษฐกิจ สังคม และกฎหมาย สำหรับเป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดี และส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย. รายงานการวิจัย. สำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).
พงศ์นคร โภชากรณ์. (2567). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 7(3), 170-184.
พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน. (2563). พุทธจริยธรรมเพื่อการบริหารองค์กรในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(4), 284-292.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ : สหธรรมิก.
พระมหาฉัตรชัย อภิชโย (ส่งเสริม) และ จักรี ศรีจารุเมธีญาณ. (2564). การบริหารงานตามแนวหลักพุทธธรรม. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 3(3), 55-65.
พิริยาภรณ์ อันทอง และศุภกร เอกชัยไพบูลย์. (2559). Checklist พิชิตธุรกิจยั่งยืน เครื่องมือการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน สําหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นพัฒนาความยั่งยืนในองค์กร. กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
รัฐปกร รองราม. (2566). การศึกษาอิทธิพลของการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ส่งผลต่อการรับรู้ถึงชื่อเสียงของบริษัทมหาชน. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ว.วชิรเมธี. (2551). คนสำราญ งานสำเร็จ. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ อมรินทร์.
ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2567). ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ SDGs. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.sdgmove.com/intro-to-sdgs/ [7 กรกฎาคม 2567]
สาวิตรี หวังเจริญ แลนนี่. (2565). การศึกษาปัจจัยการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย ตามแนวคิด Sustainable Leadership กรณีศึกษา บริษัทในกล่มอุตสาหกรรมบริการด้านอสังหาริมทรัพย์. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการ : มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2567). รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2559-2563. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.sdgport-th.org/2021/09/nesdc-thailands-sdg-report-2016-2020/ [7 กรกฎาคม 2567]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.