องค์กรธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • พจนา มาโนช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

องค์กร, ธรรมาภิบาล, พัฒนา, ยั่งยืน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์กรธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผลการวิจัยพบว่า ธรรมาภิบาลที่ดีนั้นจำเป็นต้องมีหลักการที่เหมาะสมและจำเป็น ได้แก่ 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักการมีส่วนร่วม 5) หลักความรับผิดชอบ และ 6) หลักความคุ้มค่า การนำหลักการทั้ง 6 ข้อไปสร้างองค์กรธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องพัฒนาอย่างคู่ขนานในทุกหลักการ โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาจิตสำนึกของคนทำงานให้มีความตระหนักรู้อย่างมีส่วนร่วม เข้าใจและเข้าถึงบทบาทหน้าที่ของตนต่อการดูแลตนเองและผู้อื่นด้วยความเห็นใจซึ่งกันและกัน มีการเปิดใจรับฟังซึ่งกันและกัน สื่อสารกันด้วยมิตรไมตรี  มีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา มีความรับผิดชอบต่อการบริหารตน บริหารคน บริหารงาน มีความรับผิดชอบต่อกฎหมาย กฎขององค์กร มีความพร้อมในการเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในทุกระดับ คำนึงถึงความคุ้มค่าในการบริหารงานทั้งในด้านเวลา ทรัพยากร คุณภาพชีวิต ที่ได้รับ มีการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความโปร่งใสร่วมกัน โดยนำระบบเหล่านี้ทำการบรรจุข้อมูลที่จำเป็นและมีการปรับปรุงพัฒนาข้อมูลให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อันเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจร่วมกันอย่างเป็นฉันทามติในองค์กร เพื่อให้เกิดองค์กรธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ รูปแบบองค์กรธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นการนำเอาหลักธรรมาภิบาลมาเป็นแกนกลางในการพัฒนา โดยส่งเสริมความตระหนักรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกร่วมกันในทุกหลักการ โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างมีส่วนร่วมโดยนำเอาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมาช่วยให้เกิดระบบที่โปร่งใส ตรวจสอบได้

References

ชัยสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง. (2548). ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO กับการพัฒนาบ้านเมืองให้น่าอยู่ควบคู่คุณธรรม. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 45(2), 201-208.

ดวงตา ราชอาษา. (2558). แนวทางการขับเคลื่อนการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในยุคทุนนิยม. วารสารแพรวากาฬสินธุ์, 2(3), 130-149.

ทิวากร แก้วมณี. (2559). ธรรมาภิบาล = Good Governance. กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์สยามปริทัศน์ จำกัด.

เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (2559). เอกสารการสอนชุดวิชาขอบข่ายการศึกษาและวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2544). การสร้างธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกลา.

พระครูปลัดธวัชชัย ธวชฺชยเมธี (มั่งมีเพชร). (2566). ธรรมาภิบาล : พัฒนาสังคมไทยอย่างไรให้ยั่งยืน. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(2), 25-43.

พีรพล ไทยทอง. (2560). ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐยุคใหม่ไทยแลนด์ 4.0. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 607-615.

รินทร์ลภัส วุฒิปรีชาสิทธิ์. (2562). แนวทางการพัฒนาธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. คณะรัฐประศาสนศาสตร์ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Chapman, R.A. (2000). Ethics in the Public Service for the New Millennium. Aldershot: Ashgate Publishing Company.

Cheung, A.B.L. and Scott, I. (2001). Governance and Public Sector Reform in Asia. New York, Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/31/2024