การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 7 : ไม่ติดตำรา
คำสำคัญ:
การประยุกต์ใช้, หลักการทรงงานข้อที่ 7, ไม่ติดตำราบทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้มุ่งศึกษาการประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 7 คือ ไม่ติดตำรา ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการนำหลักการทรงงานข้อนี้ไปประยุกต์ใช้ มีดังนี้ 1) ตั้งคำถามเพื่อระบุปัญหา สาเหตุ และสมมติฐาน 2) สำรวจหรือระดมความคิด 3) วิเคราะห์และประเมินข้อมูล 4) เลือกวิธีการแก้ปัญหา 5) ลงมือปฏิบัติ องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ “กระบวนการคิดนอกกรอบหรือการคิดนอกตำรา” อธิบายได้ว่า คนที่คิดนอกกรอบได้ต้องแน่นในหลักการ ต้องลงมือปฏิบัติเพื่อให้รู้ด้วยตนเองว่าสิ่งที่คิดนั้นผิดหรือถูก ทำได้หรือทำไม่ได้ ถ้าลองทดสอบดูแล้วเห็นว่าผิดพลาดหรือทำไม่ได้ก็ให้ปรับปรุงพัฒนาแก้ไข ค้นหาหนทางใหม่ ๆ จนกว่าจะเจอหนทางที่ใช่ แต่ถ้าถ้าลองทดสอบดูแล้วเห็นว่าถูกต้องหรือทำได้ก็ให้พัฒนาต่อยอดสิ่งที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ประโยชน์ของการประยุกต์ใช้หลักการข้อนี้ก็คือ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เกิดการพัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาองค์กร เพิ่มประสิทธิภาพและทำให้เกิดประสิทธิผลที่สร้างสรรค์และเป็นไปเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเป็นองค์รวม
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2564). คิดอย่างไรให้ได้นวัตกรรม. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2565). การคิดนวัตกรรมด้วยหลักการทรงงานตามหลักปรัชญาหลังนวยุค. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 15(2), 111-117.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2565). องค์รวม : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(2), 222-230.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2567ก). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 1 : ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ. วารสารสถาบันพอดี, 1(1), 38-53.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2567ข). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 2 : ระเบิดจากข้างใน. วารสารสถาบันพอดี, 1(2), 46-60.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2567ค). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 3 : แก้ปัญหาที่จุดเล็ก. วารสารสถาบันพอดี, 1(3), 33-40.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2567ง). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 4 : ทำตามลำดับขั้น. วารสารสถาบันพอดี, 1(4), 33-44.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2567จ). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 5 : ภูมิสังคม. วารสารสถาบันพอดี, 1(5), 30-40.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2567ฉ). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 6 : องค์รวม. วารสารสถาบันพอดี, 1(6), 44-57.
เมธา หริมเทพธิป. (2559). เอกสารการสอนรายวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์สมัยใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เมธา หริมเทพาธิป. (2559). การศึกษาตามหลักปรัชญาหลังนวยุคนิยมสายกลาง : วิเคราะห์จากหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลเดช. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 4(1), 120-132.
ศักดิ์ บวร. (2548). โทมัส เอดิสัน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ สมิต.
สมิต สัชฌุกร. (2567). ความคิดนอกกรอบ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/35/ContentFile519.pdf. [7 กรกฎาคม 2567]
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2559). หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : สำนักงาน กปร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.