แรงจูงใจตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

ผู้แต่ง

  • ชิสา กันยาวิริยะ สาขาวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สิรินทร์ กันยาวิริยะ สาขาวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, หลังนวยุค, ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แรงจูงใจตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ผลการวิจัย พบว่า แรงจูงใจเป็นแรงขับเคลื่อนทางจิตใจให้มนุษย์ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่ได้ตั้งใจเอาไว้ แรงจูงใจตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลางมีแนวทางการจูงใจที่ต้องอาศัยวิจารณญาณ คือ การวิเคราะห์ การประเมินค่าสู่การตัดสินใจ และประยุกต์ใช้ เพื่อแยกแยะและประเมินสิ่งต่าง ๆ ด้วยสติปัญญาจากกระบวนทรรศน์ต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงเป้าหมายของความสุข ซึ่งเป้าหมายที่กำหนดจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงขนาดและคุณภาพของความสุขอันเป็นฐานรากของความคิดที่ใช้ในการจูงใจ ดังนั้น แรงจูงใจที่เกิดขึ้นจึงเป็นแรงจูงใจที่ส่งเสริมให้เกิดการสร้างศักยภาพทางปัญญา คุณธรรมและจริยธรรม ส่งเสริมในด้านของอารมณ์และความรู้สึกซึ่งจะต้องกำหนดเป้าหมายเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวมและการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งของตนเองและผู้อื่นด้วยพลังสร้างสรรค์ พลังปรับตัว พลังร่วมมือ และพลังแสวงหา

References

กีริติ บุญเจือ และคณะ. (2560). “ปรัชญาธรรมาภิบาลที่สนับสนุนพระปฐมบรมราชโองการ”. รายงานวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2564). การคิดนวัตกรรมด้วยหลักการทรงงานตามหลักปรัชญาหลังนวยุค. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 15(2), 111-117.

เมธา หริมเทพาธิป. (2561). การมีส่วนร่วมในมุมมองหลังนวยุค. รมยสาร, 16(3), 63-77.

________. (2563). การจูงใจตนเองในแนวทางหลังนวยุค. วารสารพุทธมัคค์, 5(1), 99-107.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2564). จิตวิทยาองค์กร. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : บริษัท เอเชีย ดิจิตอลการพิมพ์ จำกัด.

อรพิน และคณะ. (2542). การพัฒนาแบบวัดแรงจูงใจภายใน. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Carter, W. R., Nesbit, Paul L., Badham, R.J., Parker, K.S., and Sung, K.L. (2018). The effects of employee engagement and self-efficacy on job performance: a longitudinal field study, The International Journal of Human Resource Management, 29(17), 2483-2502.

Lai, MC., and Chen, Y.C.. (2012). Self-Efficacy, Effort, Job Performance, Job Satisfaction, and Turnover intention: The Effect of Personal Characteristics on Organization Performance. International Journal of Innovation, Management and Technolog., 3(4), 387-391.

Robbins, S. P., and Judge, T.A. (2017). Organizational Behavior. (17th ed). Boston : Pearson.

Themanson, J.R., and Rosen, J.P. (2015). Examining the relationships between self- efficacy, task-relevant attentional control, and task performance: Evidence from event-related brain potentials. British Journal of Psychology, 106(2), 253-271.

Tierney, P., & Farmer, S. M. (2011). Creative self-efficacy development and creative performance over time. Journal of Applied Psychology, 96(2), 277-293.

Woodhouse, G. Tacey, F. and Karen, J.W. (2013). To investigate the concerns and benefits of job sharing a community based Clinical Nurse Consultant role. Australian Journal of Advanced Nursing, 30(3), 33-40.

การสร้างแรงจูงใจ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/31/2024