ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม, หลังนวยุคสายกลาง, ปรัชญาบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ผลการวิจัย พบว่า หลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลางส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและคุณบัติที่ดีของผู้นำด้วยความสร้างสรรค์ ปรับตัว ร่วมมือ แสวงหา ทำให้เกิดผู้นำเชิงจริยธรรมที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งโดยส่วนตนและส่วนรวม ส่งเสริมให้เกิดประโยชน์สุขอย่างเป็นองค์รวมที่สอดคล้องกับความต้องการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ยกระดับจิตใจและสติปัญญาเพื่อเข้าถึงความสุขอันประณีตยิ่ง ๆ ขึ้นไป และสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมโลกอย่างรู้เท่าทัน ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง เป็นรูปแบบภาวะผู้นำที่มีจริยธรรมต่อตนเอง ต่อเพื่อนร่วมงาน และต่อองค์กร ดังนี้ 1) จริยธรรมต่อตนเอง ได้แก่ การมีคุณธรรม มีความจริง มีสติปัญญา มีวิจารณญาณในการตัดสินใจ มีพลังสร้างสรรค์ ปรับตัว ร่วมมือ และแสวงหา 2) จริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน ได้แก่ การมีพฤติกรรมที่เสมอต้นเสมอปลายในทางที่ดีจนสามารถสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจแก่ผู้ร่วมงาน นำพาผู้ร่วมงานสู่การตระหนักถึงประโยชน์สุขส่วนรวม เป็นตัวอย่างที่ดีและมีวิสัยทัศน์ มองเห็นองค์รวม เป็นผู้รับฟังที่ดี 3) จริยธรรมต่อองค์กร ได้แก่ การมีความเป็นธรรมหรือมีการส่งเสริมให้เกิดระบบธรรมาภิบาล มีการตั้งเป้าหมายองค์กรเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งโดยส่วนตนและส่วนรวม ส่งเสริมให้เกิดประโยชน์สุขอย่างเป็นองค์รวมที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมโลกอย่างรู้เท่าทัน
References
กมลทิพย์ ทองคำแหง. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมสำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจตนิพัทธ์ พิธิยานุวัฒน์ และคณะ. (2564). อุเบกขากับปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(5), 2051-2063.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2565). การคิดนวัตกรรมด้วยหลักการทรงงานตามหลักปรัชญาหลังนวยุค. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 15(2), 111-117.
ชุติมา รักษ์บางแหลม. (2559). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม : หนทางสู่การขับเคลื่อนภาวะผู้นำในสถาบัน การศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 8(1), 168-181.
พจนา มาโนช. (2566). ธุรกิจครอบครัวในกระบวนทรรศน์หลังนวยุคสายกลาง. วารสารปารมิตา, 5(1), 152-161.
เมธา หริมเทพาธิป. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนด้วยปรัชญาหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สิริกร อมฤตวาริน และเอนก สุวรรณบัณฑิต. (2565). สุนทรียสนทนา: เครื่องมือของกระบวนทรรศน์หลังนวยุคสายกลาง. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(1), 152-161.
หนูไกร มาเชค. (2559). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
อับดุลฮาเร็ม ยูโซ๊ะ. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
Northouse, P. G. (2007). Leadership: Theory and Practice. 4th ed. Thousand Oaks, California : Sage.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.