การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 4 : ทำตามลำดับขั้น
คำสำคัญ:
หลักการทรงงาน, ทำตามลำดับขั้น, การประยุกต์ใช้บทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้มุ่งศึกษาการประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 4 คือ ทำตามลำดับขั้น หลักการทรงงานข้อนี้มีวิธีคิดที่น่าสนใจต่อการนำมาวิเคราะห์ ประเมินค่า สู่การประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน ผลการวิเคราะห์พบว่า หลักการทรงงานในข้อนี้ ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการจัดเรียงลำดับหรือขั้นตอนการทำงาน โดยเริ่มจากการนำประเด็นต่าง ๆ ทั้งหมดมาเรียงลำดับความสำคัญ และลำดับขั้นของการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยมีเทคนิคในการประยุกต์ใช้ดังนี้ 1) เริ่มต้นจากสิ่งจำเป็นพื้นฐาน โดยมีการวางแผนและวางระบบพื้นฐานสำหรับการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพอย่างมีคุณภาพ 2) สำรวจความคิดเห็นก่อนการดำเนินงาน เพื่อให้เห็น “องค์รวม” ของสิ่งที่เกิดขึ้นที่มาจากความต้องการอันแท้จริงของประชาชน ทุกความคิดเห็นที่ได้รับทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพจะช่วยเป็นฐานข้อมูลในการวางแผน กำหนดทิศทาง และการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ ตรงตามความต้องการที่แท้จริง และลดข้อผิดพลาดเสียหายในงานที่ไม่จำเป็นที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต 3) วิเคราะห์ความเป็นไปได้จากทุกทาง ด้วยกระบวนการคิดอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อเลือกทางที่คุ้มค่าที่สุด 4) วางแผนอย่างรอบคอบและรัดกุม ทั้งในด้านกิจกรรมการดำเนินงานและระยะเวลา 5) ดำเนินงานตามแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อรักษาความสมดุลในการทำงานให้เกิดขึ้นในภาพรวม ช่วยทำให้เกิดความร่วมมือ ไว้วางใจ และเกื้อกูลต่อกัน 6) ติดตามและประเมินผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนา เพื่อให้ทราบถึงความก้าวหน้าและผลงานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปด้วยความเรียบร้อยหรือไม่ หากมีอุปสรรคใดเกิดขึ้นจะได้หาแนวทางแก้ปัญหานั้น ๆ ได้ทันท่วงที เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีในทุกอุปสรรค ในเรื่องการทำตามลำดับขั้นนี้ หากมองในเชิงการพัฒนาจะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงมุ่งเน้น “การพัฒนาคน” ซึ่งจะต้องเริ่มจากการสร้างรากฐานให้มั่นคง ตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคล ครัวเรือน หมู่บ้าน ชุมชน ให้มีความเข้มแข็ง มีโอกาสเตรียมตัว ตั้งตัว พร้อมจะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วจึงค่อยนำความเจริญก้าวหน้าจากสังคมภายนอกเข้าไปพัฒนาคนภายในหมู่บ้านหรือชุมชนเป็นลำดับต่อไป โดยคำนึงถึงความจำเป็นและความเหมาะสม เพื่อให้ราษฎรเหล่านั้นพึ่งตนเองได้ และสามารถออกมาสู่สังคมภายนอกได้อย่างไม่ลำบาก
References
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2558). “หลักคุณภาพในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกับปรัชญา หลังนวยุค : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
________. (2567ก). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 1 : ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ. วารสารสถาบันพอดี, 1(1), 38-53.
________. (2567ข). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 3 : แก้ปัญหาที่จุดเล็ก. วารสารสถาบันพอดี, 1(3), 33-40.
ชิสา กันยาวิริยะ. (2565). ระเบิดจากข้างใน : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(2), 250-256.
เมธา หริมเทพาธิป, ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์ วัชรารัศมิ์ สุนทรวนาเวศ ฌ. (2566). ทำตามลำดับขั้น : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 6(2), 54-63.
เมธา หริมเทพาธิป. (2559). การศึกษาตามหลักปรัชญาหลังนวยุคนิยมสายกลาง : วิเคราะห์จากหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลเดช. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 4(1), 120-132.
เศรษฐกิจพอเพียง. ทำตามลำดับขั้น. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://sites.google.com/view/biaceconomy/เรียนรู้หลักการทรงงานข้อ 4-ทำตามลำดับขั้น [19 มีนาคม 2567]
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2559). หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : สำนักงาน กปร.
อัจฉรา อยุทธศิริกุล. (2561). การศึกษาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษา. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.