บรรษัทภิบาลบนพื้นฐานปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

ผู้แต่ง

  • พจนา มาโนช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

บรรษัทภิบาล, หลังนวยุคสายกลาง, ปรัชญา

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ บรรษัทภิบาลบนพื้นฐานปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ผลการวิจัยพบว่า บรรษัทภิบาลบนพื้นฐานปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง มีรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีโดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมองอย่างเป็นองค์รวม คิดอย่างเป็นระบบ เริ่มต้นจากจุดที่สำคัญที่สุด คือ ความจริงใจ ซึ่งเป็นเรื่องคุณธรรมภายในใจ จากนั้นจะเป็นเรื่องของการจัดระบบองค์กรเพื่อแสดงออกถึงความจริงใจดังกล่าวนี้ ได้แก่ การให้ความสำคัญกับผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมทุกภาคส่วน การเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นอย่างถูกต้อง ตรวจสอบได้ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และบทบาท พร้อมปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขส่วนรวม คือให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายอันเกิดจากการตกลงร่วมกัน ความสุขในองค์กรก็จะเกิดขึ้น และเปิดโอกาสให้เกิดการเติบโตจากภายในอย่างมีส่วนร่วมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน

References

กีรติ บุญเจือ. (2560). ปรัชญาและจริยศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เมธา หริมเทพาธิป. (2561). การมีส่วนร่วมในมุมมองหลังนวยุค. รมยสาร, 16(3), 63-77.

______. (2563). การจูงใจตนเองในแนวทางหลังนวยุค. วารสารพุทธมัคค์, 5(1), 99-107.

แสงสุวรรณ จันทลุนนะวงศ์ และ สุธีรา ศรีเบญจโชติ. (2565). กลยุทธ์การส่งเสริมบรรษัทภิบาลเพื่อการจัดการอย่างยั่งยืนขององค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 5(4), 106-123.

Jensen, M. C., & Chew, D. (1995). US Corporate governance : Lessons from the 1980's. New York : Harvard University Press.

Organization for Economic Co-operation and Development, (1999). OECD principles of corporate governance. Paris : OECD.

Ormazabal, G. (2018). The role of stakeholders in corporate governance : A view from accounting research. Foundations and Trends® in Accounting, 11(4), 193-290.

Robert lan Tricker. Corporate Governance : Principles, Policies, and Practices. Oxford University : Oxford University Press.

Shaikh, I. (2022). Environmental, social, and governance (ESG) practice and firm performance : An international evidence. Journal of Business Economics and Management, 23(1), 218-237.

Solomon, J. and Solomon, A. (2004). Corporate Governance and Accountability. New York : John Wiley.

บรรษัทภิบาลบนพื้นฐานปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03/31/2024