การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 3 : แก้ปัญหาที่จุดเล็ก
คำสำคัญ:
หลักการทรงงาน, แก้ปัญหาที่จุดเล็ก, การประยุกต์ใช้บทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้มุ่งศึกษาการประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 3 คือ แก้ปัญหาที่จุดเล็กหลักการทรงงานข้อนี้มีวิธีคิดที่น่าสนใจต่อการนำมาวิเคราะห์ ประเมินค่า สู่การประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน แม้ว่าจะเป็น “จุดเล็ก” แต่เป็น “จุดที่ทรงพลัง” หรืออย่างที่นักยุทธศาสตร์เรียกว่า “จุดคานงัด” เป็นจุดที่ถูกกำหนดอย่างแม่นยำแล้วว่า ถ้าแก้ตรงจุดเล็กๆ นี้ได้ ปัญหาที่ต่างที่เกี่ยวข้องจะถูกคลี่คลายลงไปได้อย่างเป็นลูกโซ่ แสดงให้เห็นว่า จุดเล็กๆ ที่กล่าวถึงนี้ เป็นจุด “ต้นเหตุ” เป็นต้นตอของปัญหาหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นลูกโซ่ “จุดเล็ก” ในบริบทของการทำงาน คือ ส่วนประกอบของความสำเร็จที่เราวางไว้ แม้ว่าแต่ละองค์ประกอบจะเกิดขึ้นจากจุดเล็ก ๆ ที่เป็นองค์ประกอบย่อยมารวมกัน แต่ทุกองค์ประกอบนั้นล้วนสำคัญในหน้าที่แห่งตน หากองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดความบกพร่องเสียหายไป ย่อมส่งผลต่อองค์กระกอบอื่น ๆ ตามไปด้วย เช่น หัวใจที่เต้นเร็วขึ้นอันเนื่องมาจากการทำงานทางกาย อาจเกิดขึ้นจากสมรรถนะของกล้ามเนื้อที่มีศักยภาพลดลง ดังนั้น ผู้ที่อ่อนซ้อมต่อการออกกำลังกายกล้ามเนื้อจะไม่แข็งแรง จึงเป็นเหตุให้หัวใจและปอดทำงานหนักขึ้นกว่าปกติ ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น และอาจจะส่งผลต่อระบบอื่น ๆ ในร่างกายต่อไป เป็นต้น ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นก็มักมาจากจุดเล็ก ๆ ที่มักถูกปล่อยปละละเลยนั่นเอง ดังนั้น จึงควรใส่ใจปัญหาที่จุดเล็กเพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยดำเนินตามวิธีคิดดังต่อไปนี้ 1) วางใจไม่คาดหวัง 2) ถอดส่วนประกอบ และ 3) สำรวจจุดอ่อน
References
กีรติ บุญเจือ. (2545). ปรัชญาหลังนวยุค แนวคิดเพื่อการศึกษาแผนใหม่. กรุงเทพฯ : ดวงกมล.
________. และคณะ. (2560). “ปรัชญาธรรมาภิบาลที่สนับสนุนพระปฐมบรมราชโองการ”. รายงานวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2567). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 1 : ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ. วารสารสถาบันพอดี, 1(1), 38-53.
ชิสา กันยาวิริยะ. (2565). ระเบิดจากข้างใน : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(2), 250-256.
พระครูวิจิตรศาสนการ ละเอียด จงกลนี และประจิตร มหาหิง. (2564). เทคนิคการบริหารสถานศึกษาตามหลักโยนิโสมนสิการ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(1), 638-650.
พระครูสุนทรปริยัติกิจ. (2560). กระบวนการโยนิโสมนสิการกับภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของนายกเทศมนตรีในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(2), 638-650.
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน. ปรัชญาการรื้อสร้างของเดอริดา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://midnightuniv.tumrai.com/midnightweb/newpage10.html [24 มีนาคม 2567]
เมธา หริมเทพาธิป. (2559). การศึกษาตามหลักปรัชญาหลังนวยุคนิยมสายกลาง : วิเคราะห์จากหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลเดช. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 4(1), 120-132.
________. (2563). การจูงใจในแนวทางหลังนวยุค. วารสารพุทธมัคค์, 5(1), 99-107.
ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล และสมยศ ชิดมงคล. (2560). การคิดเชิงระบบ : ประสบการณ์การสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ. วารสารครุศาสตร์, 45(2), 209-223.
วีระ สมบูรณ์. (2547). ข้อพิจารณาบางประการเกี่ยวกับองค์รวมและการลดทอนแยกส่วน. วารสารสังคมศึกษา, 35(1), 112-143.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2559). หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : สำนักงาน กปร.
สุดารัตน์ น้อยแรม. ญาณปรัชญาหลังนวยุค. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://philosophysuansunandha.com/2020/04/21/postmodern-epistemology/ [24 มีนาคม 2567]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.