หลักธรรมาภิบาลบนพื้นฐานปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง
คำสำคัญ:
ธรรมาภิบาล, ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง, ปรัชญาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาล 2) เพื่อศึกษาปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง 3) เพื่อวิเคราะห์หลักธรรมาภิบาลบนพื้นฐานปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ผลการวิจัยพบว่า 1) ธรรมาภิบาลคือการบริหารจัดการที่ดี ประกอบด้วยหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า 2) ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง เป็นปรัชญากระบวนทรรศน์กระแสล่าสุดที่มุ่งเน้นในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการสร้างสรรค์ ปรับตัว ร่วมมือ และแสวงหา โดยใช้การตีความอย่างมีวิจารณญาณเป็นเครื่องมือในเชิงญาณวิทยา 3) วิเคราะห์หลักธรรมาภิบาลบนพื้นฐานปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง เป็นการนำเอาคุณภาพชีวิตของส่วนรวมมาตั้งเป็นเป้าหมายร่วมของทุกองค์ประกอบในหลักธรรมาภิบาล มุ่งเน้นความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ จริงใจในการแก้ปัญหาทั้งในส่วนของระบบและจิตสำนึกส่วนบุคคล เปิดพื้นที่ให้กับคนทุกช่วงวัยได้มีโอกาสเข้าพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป
References
เจตนิพัทธ์ พิธิยานุวัฒน์ และคณะ. (2564). อุเบกขากับปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(5), 2051-2063.
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์, ดร. (2565). การคิดนวัตกรรมด้วยหลักการทรงงานตามหลักปรัชญาหลังนวยุค. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 15(2), 111-117.
ธงชัย คล้ายแสง. (2562). หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. วารสารวิจยวิชาการ, 2(2), 177-188.
ภูดิศ นอขุนทด. (2565). หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารงานภาครัฐ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 1029-1044.
วิโรจน์ คงเทพ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง. วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. 6(1), 52-66.
Dhiwakorn Kaewmanee. (2007). The evolution of the Thai State: the political economy of formative and transformative external influences. Berlin : dissertation.de.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.