การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรูปแบบ On Hand รายวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบ้านอ้อ (บ้านอ้อวิทยาคาร) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ พัฒนอาชา สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาสามารถ ฐานิสฺสโร สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การแก้ปัญหา, การเรียน On Hand, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรูปแบบ On Hand รายวิชาสังคมศึกษา ก่อนเรียน-หลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ใบงาน ที่ได้จากการศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบ้านอ้อ (บ้านอ้อวิทยาคาร) จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน t-test

          ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรูปแบบ On Hand พบว่า คะแนนจากการทำใบงานที่เป็นแบบทดสอบ ค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ ก่อนเรียน คือ 89.44% และ หลังเรียน คือ 94.72% และมีค่าพัฒนาความสามารถด้านการเรียนรู้คำศัพท์คิดเป็นร้อยละ 59.17 แสดงว่าประสิทธิภาพของกระบวนการสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบ้านอ้อ (บ้านอ้อวิทยาคาร) โดยมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยมีค่าวิกฤต (t) เท่ากับ 18.2

References

จันติยะ และคณะ. (2564). การพัฒนาการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านเกมประกอบการสอนในนักเรียนชั้นมัธยมศีกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 11(3), 91-97.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2537). “การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน”. เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 1–5. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รัตติยากร วาปีกัง, ศศิพร พงศ์เพลินพิศ และสุชีรา มะหิเมือง. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการเรียนรู้ คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนฤทธิณรงค์รอน. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 15(18), 12-22.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ศักรินทร์ สุวรรณโรจน์ และคณะ. (2536). เส้นทางความก้าวหน้าของข้าราชการครู: คู่มือการจัดทำแผนการสอน. กรุงเทพฯ : เอมพันธ์จำกัด.

เสริมพงศ์ วงศ์กมลาไสย. (2548) การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องหลวงตาพวงโดยใช้กิจกรรมกลุ่มแบบ Jigsaw และแผนผังความคิด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การศึกษาค้นคว้าอิสระ (กศ.ม. หลักสูตรและการสอน) : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). ปัญหาการระบาดของ COVID-19 ทำให้การศึกษาทั่วโลกหยุดชะงัก. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://bic.moe.go.th/index.php/gallery/2021-08-29-21-34-25/2366-covid-19-19-3-2563 [25 ตุลาคม 2567]

อรชุมา แซ่ลิ่ม. (2564). แบบรายงานเสนอเพื่อพิจารณา คัดเลือกรูปแบบการสอน On-line "On-line เรียนตอนไหนก็ได้". [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.phangngaedarea.go.th/site/wp-content/uploads/innovation2021/คุณภาพประจำตำบล/4.โรงเรียนบ้านบางม่วง.pdf [25 ตุลาคม 2567].

บทคัดย่อ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10/31/2024