การบริหารธุรกิจบนพื้นฐานของทานบารมี

ผู้แต่ง

  • สิรินทร์ กันยาวิริยะ บริษัท ล.ธนวงศ์ (1997) จำกัด
  • ชิสา กันยาวิริยะ บริษัท ล.ธนวงศ์ (1997) จำกัด

คำสำคัญ:

การบริหาร, ธุรกิจ, การบริหารธุรกิจ, ทานบารมี

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายของทานบารมีในบริบทของพระพุทธศาสนาเถรวาท วิเคราะห์แนวคิดเชิงจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารธุรกิจ และสังเคราะห์เป็นกรอบแนวคิด “D.A.N.A. Model” สำหรับการจัดการองค์กรโดยยึดหลักการให้เป็นแกนกลาง ทานบารมี ซึ่งถือเป็นบารมีขั้นต้นในบารมี 10 ประการของพระโพธิสัตว์ หมายถึงการให้ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ เพื่อเกื้อกูลผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน แนวคิดนี้สามารถประยุกต์ใช้ในโลกธุรกิจได้ผ่านการพัฒนาองค์กรที่มีจิตสาธารณะ มุ่งสร้างคุณค่าร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และขับเคลื่อนด้วยภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม โดยผู้เขียนได้นำเสนอรูปแบบการประยุกต์ทานบารมีในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่การให้วัตถุ การให้ธรรม จนถึงการให้อภัย และสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ที่เชื่อมโยงระหว่างหลักทานบารมีกับทฤษฎีบริหารร่วมสมัย ทั้งนี้ บทความชี้ให้เห็นว่า การบริหารธุรกิจบนพื้นฐานของทานบารมี ไม่เพียงช่วยเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีเมตตาและเสียสละ แต่ยังเป็นกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากการแสวงหาผลกำไรสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของทั้งผู้บริหาร พนักงาน และสังคมโดยรวม สร้างแนวทางการบริหารธรกิจที่ยั่งยืนและเป็นธรรม

References

พระมหาพงศ์ศิริ ปญฺญาวชิโร. (2566). วิเคราะห์ทานบารมีในคัมภีร์อรรถกถาชาดก. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 10(1), 63–73.

พระมหาพงศ์ศิริ ปญฺญาวชิโร. (2564). วิเคราะห์ทานบารมีในคัมภีร์อรรถกถาชาดก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 63-73.

พุทธทาสภิกขุ. (2543). พุทธธรรมในฐานะจริยธรรมสากล. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Bass, B. M., & Steidlmeier, P. (1999). Ethics, character, and authentic transformational leadership behavior. The Leadership Quarterly, 10(2), 181–217.

Drucker, P. F. (2006). The Effective Executive. New York : HarperCollins.

F. W. Taylor. (1911). The principles of Scientific Management. New York : Harper and Bros.

Fayol, H. (1949). General and Industrial Management. Sir Isaac Pitman & Sons.

Freeman, R. E. (1984). Strategic Management : A Stakeholder Approach. Oxford : Blackwell Publishing.

Gotsis, G., & Kortezi, Z. (2015). Philosophical Foundations of Workplace Spirituality: From Christian to Buddhist Perspectives. Journal of Business Ethics, 128(4), 729–744.

Greenleaf, R.K. (1977). Servant Leadership: A Journey into the Nature of Legitimate Power and Greatness. New York : Paulist Press.

Porter, M. E., & Kramer, M. R. (2011). Creating shared value. Harvard Business Review, 89(1), 62–77.

Robbins, S. P., & Coulter, M. (2018). Management (14th ed.). London : Pearson.

Saddhatissa, H. (1987). Buddhist Ethics: Essence of Buddhism. London : Wisdom Publications.

Sivaraksa, S. (1992). Seeds of Peace: A Buddhist Vision for Renewing Society. Berkeley : Parallax Press.

Takei, H. (2015). A General Model of Buddhism-Based Management. International Journal of Business and Information, 10(1), 79–111.

Von Bertalanffy, L. (1968). General System Theory: Foundations, Development. New York: George Braziller.

เผยแพร่แล้ว

06/30/2025

How to Cite

กันยาวิริยะ ส. ., & กันยาวิริยะ ช. (2025). การบริหารธุรกิจบนพื้นฐานของทานบารมี. วารสารสถาบันพอดี, 2(6), 49–60. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/IS-J/article/view/2028