ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานในวัฒนธรรมองค์กรของบุคลากรทางการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
คำสำคัญ:
ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน, วัฒนธรรมองค์กร, บุคลากรทางการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์กรของบุคลากร 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานกับวัฒนธรรมองค์กรของบุคลากรทางการศึกษา การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 385 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานของบุคลากรทางการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านสังคมเป็นองค์ประกอบที่มีสมดุลสูงสุด รองลงมาคือด้านการทำงานและด้านเศรษฐกิจ ขณะที่ด้านส่วนตัวมีสมดุลต่ำที่สุด ในส่วนของวัฒนธรรมองค์กร พบว่าบุคลากรสามารถปฏิบัติงานภายใต้วัฒนธรรมองค์กรได้ดี โดยมีระดับความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรสูงสุด รองลงมาคือความซื่อสัตย์สุจริต ความหลากหลายของบุคลากร และความเอื้ออาทร ซึ่งอยู่ในระดับต่ำที่สุด นอกจากนี้ พบว่าความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับวัฒนธรรมองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์สูงสุดกับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานคือความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และความเอื้ออาทร
ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่า การมีสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดีส่งผลต่อการปฏิบัติงานภายใต้วัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะสม องค์กรควรส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้บุคลากรสามารถจัดสรรเวลาได้อย่างสมดุล พร้อมทั้งสนับสนุนการสร้างความผูกพันในองค์กร เพื่อลดปัญหาความเครียดจากงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในระยะยาว
References
กมลพร ชนิตสิริกุล (2565) ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ความสุข และภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรกลุ่มวัยเริ่มทำงาน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.). สารนิพนธ์ (รป.ม.). คณะรัฐศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กาญจนา หาญศรีวรพงศ์. (2561). การสร้างดุลยภาพชีวิตตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กานต์นรี ประสพสุข. (2563). วัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียนวัดบางพระ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธีระ กนกกาญจนรัตน์. (2556). เข็มทิศ SME: Work-life balance ปรับแนวคิดสำหรับชีวิตและการงาน. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/business/370700
ปัทมาวรรณ จินดารักษ์ และ สายสุนีย์ เกษม. (2562). สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานกับความหลากหลายของกลุ่มวัย. วารสารนักบริหาร, 39(1), 3-11.
พงศธร อุปถัมภ์. (2559). ความสมดุลย์ระหว่างชีวิตและการทำงานของเจนเนอเรชั่นวายในอำเภอเมืองเชียงใหม่. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วฉัตษกา สุพรรณนานา. (2562). ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของบุคลากร โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วัลลภ บุตเกตุ และ สำเริง อ่อนสัมพันธุ์. (2563). วัฒนธรรมองค์การกับความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปการจัดการ, 4(3), 747-759.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). รายงานประจำปี 2565. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
สุภา เข็มแข็งปรีชานนท์, ระวี สัจจโสภณ และ ศุภรักษ์ อธิคมสุวรรณ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 11(1), 169-190.
อุทัย บุญประเสริฐ และ จิราภรณ์ จันทร์สุพัฒน์. (2540). หลักสูตรและการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันพอดี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.