แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ผู้แต่ง

  • ณัฐมน สาระเจริญ สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
  • ในตะวัน กำหอม สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข

คำสำคัญ:

แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, การบริหารสถานศึกษา, บุคลากรทางการศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของบุคลากรทางการศึกษา ระดับการบริหารสถานศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับการบริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 385 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

          ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของบุคลากรทางการศึกษาอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าสูงสุดคือ ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง รองลงมาคือ ด้านความกระตือรือร้น ความกล้าเสี่ยง ความต้องการทราบผลการตัดสินใจ ทักษะในการจัดการระบบงาน และ ความมีเอกลักษณ์ ตามลำดับ สำหรับระดับการบริหารสถานศึกษา พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดย ด้านการบริหารวิชาการ มีค่าสูงสุด รองลงมาคือ ด้านบริหารทั่วไป บริหารงบประมาณ และ บริหารบุคคล ซึ่งอยู่ในลำดับสุดท้าย นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของบุคลากรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารสถานศึกษาในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดย ด้านการบริหารวิชาการ มีค่าสัมพันธ์สูงสุด รองลงมาคือ ด้านบริหารทั่วไป บริหารงบประมาณ และ บริหารบุคคล ตามลำดับ

          ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีบทบาทสำคัญต่อประสิทธิภาพของการบริหารสถานศึกษา โดยเฉพาะด้านการบริหารวิชาการซึ่งส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพการศึกษา ดังนั้น ควรมีแนวทางสนับสนุนให้บุคลากรมีแรงจูงใจที่เหมาะสมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

ณัฏฐิกา บูรณกูล. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และค่านิยมในการทำงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูโรงเรียนเอกชน ในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ.

ดรรชนี จิตคำรพ. (2561). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ธัชยพงศ์ ปาละหงษา, วิชาญ เหรียณวิไลรัตน์ และในตะวัน กำหอม. (2565). ความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุกับประสิทธิผลการบริหารของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนชุมชนประชาธิปัตย์วิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 4(3), 151-162.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

ในตะวัน กำหอม. (2559). การวิจัยทางการศึกษา.เล่ม 1. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยทองสุข.

พีระกรณ์ ทะชิตะสิงห์, ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน และสุพจน์ ดวงเนตร. (2566). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(1), 201–216. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmuj/article/view/264347

ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). ชลบุรี : มนตรี.

มรินทกาล พัฒนทรัพย์พิศาล. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

สิริพร ยศธนวรกุล (2561) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนวังน้ำเย็นวิทยาคมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วิทยานิพนธ์. คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York, NY: Freeman.

Gagne, M., & Deci, E. L. (2005). Self-determination theory and work motivation. Journal of Organizational Behavior, 26(4), 331-362. https://doi.org/10.1002/job.322

Herzberg, F. (1959). The motivation to work. New York, NY: John Wiley & Sons.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Locke, E. A., & Latham, G. P. (1990). A theory of goal setting & task performance. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

McClelland, D. C. (1961). The achieving society. Princeton, NJ: Van Nostrand.

Ryan, R. M., & Deci, E. L. (2000). Self-determination theory and the facilitation of intrinsic motivation, social development, and well-being. American Psychologist, 55(1), 68-78. https://doi.org/10.1037/0003-066X.55.1.68

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/30/2025

How to Cite

สาระเจริญ ณ., & กำหอม ใ. (2025). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วารสารสถาบันพอดี, 2(4), 1–12. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/IS-J/article/view/1598