ปัจจัยด้านการบริหารกับคุณภาพการศึกษาสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทย
คำสำคัญ:
ปัจจัยด้านการบริหาร, คุณภาพการศึกษา, การบริหารสถานศึกษาเอกชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับปัจจัยด้านการบริหารสถานศึกษา (2) ศึกษาระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารกับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเอกชนภายในภูมิภาคหนึ่ง จำนวน 381 คน โดยใช้ แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามได้รับการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Item-Objective Congruence: IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability: Cronbach’s Alpha) เท่ากับ 0.908 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยด้านการบริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ การมุ่งเน้นบุคลากร การมุ่งเน้นผู้เรียน ภาวะผู้นำ การวางแผนกลยุทธ์ และการจัดการกระบวนการ ตามลำดับ (2) คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการจัดการและการทำงาน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน และทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ตามลำดับ (3) ปัจจัยด้านการบริหารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพการศึกษาในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
ณัชชา บุญประไพ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ทศม วรประวัติ และ จิติมา วรรณศรี (2564). แนวทางบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(7), 2803-2814.
ทิวัตถ์ ศรีดำรงค์. (2557). การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ : การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ธันยพร มณีฉาย (2565)การบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน : มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
นัฐฐยา พิพัฒน์นราธร และนิษฐ์วดี จิรโรจน์ภิญโญ. (2561). การบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 5(1).
ในตะวัน กำหอม. (2559). การวิจัยทางการศึกษา เล่ม 1. วิทยาลัยทองสุข : กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ทีคอม จังหวัดมหาสารคาม.
บารีนา มะแซ. (2559). ปัจจัยด้านการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอน ศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2545). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : สานักงานปฏิรูปการศึกษา.
รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. (2550). การศึกษางานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : ท้อป.
วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล. (2542). TQM Living Handbook ภาคสาม คู่มือตรวจวินิจฉัยคุณภาพของระบบบริหาร บันไดก้าวแรกสู่บริษัทชั้นนำระดับโลก. กรุงเทพฯ : บริษัท บีพีอาร์ แอนด์ทีคิวเอ็ม คอนซัลแทนท์ จำกัด.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุณิสา เศษธะพานิช. (2548). การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร สถานศึกษาเอกชนเกี่ยวกับความเป็นเลิศด้านการศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สุทธนา ฮันเกียรติพงษ์ . (2553). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการที่เป็ นเลิศของ โรงเรียนอนุบาลเอกชน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุเมธ งามกนก. (2561). การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.
สุวรรณ ศรีบูรพาภิรมย์. (2543). การบริหารโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ การศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันพอดี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.