คุณภาพชีวิตในการทำงานตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

ผู้แต่ง

  • พจนา มาโนช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพชีวิตในการทำงานตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลางมีความเป็นองค์รวม ขับเคลื่อนด้วยพลังสร้างสรรค์ พลังปรับตัว พลังร่วมมือ และพลังแสวงหา โดยสามารถดำเนินการตามแนวทางสำคัญได้ดังนี้ 1) การสร้างความสมดุล 2) ความยืดหยุ่น 3) การสร้างความร่วมมือและการสนับสนุน 4) การปรับตัวและการคิดสร้างสรรค์ และ 5) การแสวงหาความรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการตามแนวทางนี้สามารถช่วยให้องค์กรและหน่วยงานภาครัฐส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ยั่งยืน ตอบสนองต่อหลักการของปรัชญาหลังนวยุคสายกลางซึ่งเน้นการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อพนักงานและสร้างคุณค่าให้แก่องค์กรและสังคมโดยรวม

References

นวรัตน์ เพชรพรหม. (2562). วัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะบริหารธุรกิจ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นิศาชล เรืองชู. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความภักดีในองค์กรของพนักงานธนาคารต่างชาติแห่งหนึ่งในประเทศไทย. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มุสตอฟา หมัดบินเฮด. (2565). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขารัฐประศาสนศาสตร์ : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เมธา หริมเทพาธิป. (2561). การมีส่วนร่วมในมุมมองหลังนวยุค. รมยสาร, 16(3), 63-77.

สัณหวัช วิชิตนนทการ และคณะ. (2562). ปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วารสารบัณฑิตวิจัย, 10(1), 169-188.

สิริณัฐ แสงดารา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Greenberg, J. and Baron, R.A. (1995). Behavior in organization : Under standing and managing the human side of work. 5th ed. New Jersey : A Simon and Schuster.

Gronroos, C. (2000). Employee management. Chichester : Goldberg.

Huse, E. F., & Cumming, T. (1995). Organization development and change. New York : West Publishing Company.

Mowday, R.T., L. W. Porter, and R. M. Steers. (1982), Employee-Organization Linkage : ThePsychology of Commitment, Abesenteeism, and Tumover. New York : Academic Press lnc.

Walton, R. E. (1973). Quality of Working Life : What is It?. Sloan Management Review, 15(1), 11-12.

คุณภาพชีวิตในการทำงาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11/30/2024