การประยุกต์หลักอริยสัจ 4 กับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • ชิสา กันยาวิริยะ สาขาวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สิรินทร์ กันยาวิริยะ สาขาวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน, อริยสัจ 4, การประยุกต์

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์หลักอริยสัจ 4 กับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผลการวิจัยพบว่า หลักอริยสัจ 4 ซึ่งประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มจากการให้ผู้เรียนตระหนักถึงปัญหาหรือ “ทุกข์” ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ ตามด้วยการค้นหาสาเหตุหรือ “สมุทัย” เพื่อวิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหา จากนั้นนำเสนอแนวทางการแก้ไขที่เป็นไปได้ในลักษณะ “นิโรธ” และสุดท้ายคือการนำแนวทางเหล่านั้นไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบหรือ “มรรค” ซึ่งกระบวนการนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิผล แต่ยังส่งเสริมการพัฒนาทางด้านจิตใจและจริยธรรม อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำเนินชีวิตในโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานด้วยหลักหลักอริยสัจ 4 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของหลักปรัชญาทางพระพุทธศาสนาในการสนับสนุนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ โดยการประยุกต์ใช้หลักการอริยสัจ 4 สามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนตามหลักอริยสัจ 4 ได้แก่ 1) การระบุและทำความเข้าใจปัญหา (ทุกข์) 2) การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (สมุทัย) 3) การหาแนวทางแก้ไขและคาดหวังผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ (นิโรธ) 4) การวางแผนและดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นระบบ (มรรค) ในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ช่วยให้ผู้เรียนไม่เพียงเข้าใจวิธีการแก้ปัญหาทางวิชาการ แต่ยังเข้าใจต้นเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาในลักษณะที่ครอบคลุมด้านจิตใจและพฤติกรรมด้วย องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ “การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานด้วยหลักหลักอริยสัจ 4” ประกอบด้วย 1) การระบุและทำความเข้าใจปัญหา (ทุกข์) 2) การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (สมุทัย) 3) การหาแนวทางแก้ไขและคาดหวังผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ (นิโรธ) 4) การวางแผนและดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นระบบ (มรรค)

References

จิตต์ภิญญา ชุมสาย ณ อยุธยา. (2562). รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวิธีสอนตามขั้นทั้ง 4 ของอริยสัจสำหรับห้องเรียนขนาดใหญ่ เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(2), 223-239.

ชยาภา คำเมรี และคณะ. (2565). การประยุกต์หลักอริยสัจ 4 กับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับผู้เรียนในสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(3), 503-514.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.

พระพันธวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน (ภูมิรัง) และวิทยา ทองดี. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning). วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 967-976.

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (2554). รวมบทความ PBL ฉบับพิเศษ : การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. นครศรีธรรมราช : ดีชัย.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). 20 วิธีการจัดการเรียนรู้, เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และการเรียนรู้โดยการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

อังคณา ตุงคะสมิต. (2559). สังคมศึกษาในโลกอาเซียน Social studies in ASEAN Community. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Kay, K. (2010). 21st Century Skills : Why the Matter, What They are, and How We Get There. In Bellanca, J. & Brandt, R. (Eds.), 21st Century Skills : Rethinking How Students Learn. Bloomington, In : Solution Tree Press.

อริยสัจ 4

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11/30/2024