การบริหารตน บริหารคน บริหารงานงาน ตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง
คำสำคัญ:
การบริหารตน, การบริหารคน, การบริหารงาน, ปรัชญาหลังนวยุคสายกลางบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การบริหารตน บริหารคน บริหารงาน ตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารตน ตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลางมุ่งเน้นการรู้จักตนเอง การพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง และการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีสติ โดยไม่ยึดติดกับความคิดแบบสุดขั้ว ซึ่งช่วยให้บุคคลมีความยืดหยุ่นในการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ 2) การบริหารคน เน้นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร ผ่านการสื่อสารอย่างเปิดเผยและการสนับสนุนความร่วมมือระหว่างบุคลากรเพื่อสร้างความสามัคคีและความเข้าใจในทีมงาน 3) การบริหารงาน ตามหลักปรัชญานี้มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการวางแผนอย่างรอบคอบและการตัดสินใจที่ยืดหยุ่น การใช้เหตุผลและการพิจารณาอย่างลึกซึ้งช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนแผนงานให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ส่งผลให้องค์กรมีความมั่นคงและยั่งยืน องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการบริหารตน บริหารคน และบริหารงานตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ 1) การบริหารตน ได้แก่ การพัฒนาตนเอง การสร้างสมดุลในชีวิต การมีจริยธรรม 2) การบริหารคน ได้แก่ การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมและการสร้างแรงจูงใจ การพัฒนาทักษะและศักยภาพ 3) การบริหารงาน ได้แก่การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน การปรับตัวและสร้างนวัตกรรม การประเมินผลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
References
เจตนิพัทธ์ พิธิยานุวัฒน์ และคณะ. (2564). อุเบกขากับปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(5), 2051-2063.
ชิสา กันยาวิริยะ และ สิรินทร์ กันยาวิริยะ. (2567). ผู้นําคุณธรรมตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารสถาบันพอดี, 1(6), 9-18.
พระมหาอนันต์ อนุตฺตโร (อันวิเศษ) และคณะ. (2565). หลังโครงสร้างนิยมกับอรรถปริวรรต. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 27(2), 257-271.
เมธา หริมเทพาธิป. (2559). การมีส่วนร่วมในมุมมองหลังนวยุค. รายงานวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
_________. (2561). การมีส่วนร่วมในมุมมองหลังนวยุค. รมยสาร, 16(3), 63-77.
_________. (2563). การจูงใจตนเองในแนวทางหลังนวยุค. วารสารพุทธมัคค์, 5(1), 99-107.
วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2554). ความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ วิจิตรหัตถกร.
ศุภกานต์ มินเหล้า. (2553). แนวทางการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพขององค์กรปกครองท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณี ตําบลสันกลาง อําเภอสันกําแพง จังหวัดเชียงใหม่. สารนิพนธ์ศาสนศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สาคร สุขศรีวงศ์. (2559). MANAGEMENT : from the Executive’s Viewpoint การจัดการ : จากมุมมองนักบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ : บริษัท จี.พี. ไซเบอร์พรินท์ จำกัด.
สิรินทร์ กันยาวิริยะ และ ชิสา กันยาวิริยะ. (2567). การบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารสถาบันพอดี, 1(7), 27-40.
สุดธิณีย์ ทองจันทร์, เมธา หริมเทพาธิปและ กีรติ บุญเจือ. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยด้วยหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 10(1), 31-41.
สุนิสา โมสิโก. (2567). การบริหารตน บริหารคน บริหารงาน ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 10(1), 173-188.
อนันต์ชัย คงจันทร์. (2557). Human Resource Management : การจัดการทรัพยากรมนุษย์.กรุงเทพฯ : หจก. เม็ดทรายพริ้นติ้ง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.