เนกขัมมะบารมีในพุทธปรัชญาเถรวาท
คำสำคัญ:
เนกขัมมะ, บารมี, เนกขัมมะบารมี, พุทธปรัชญาเถรวาทบทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงวิเคราะห์เนกขัมมะบารมีในพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการศึกษาพบว่า เนกขัมมะในพุทธปรัชญาเถรวาทคือการสละออกซึ่งความสุขทางกายและใจที่เกาะเกี่ยวกับกามารมณ์ อันได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในใจ โดยอาจเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน ความสุขชั่วคราว หรือความสุขจากอารมณ์ที่พอใจ เพื่อมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาจิตใจและการค้นหาความจริง การสละนี้ต้องดำเนินไปตามทางสายกลางซึ่งเน้นการไม่ยึดติดกับสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ปฏิเสธชีวิตทางโลกทั้งหมด เนกขัมมะเป็นหนึ่งในบารมีสิบประการที่พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญเพื่อให้บรรลุโพธิญาณสูงสุด องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับเนกขัมมะบารมีในทางสายกลาง ประกอบด้วย 1) การละความยึดติดในทางโลกโดยไม่ปฏิเสธชีวิตทางโลก 2) การละความยึดติดในสิ่งที่ไม่จำเป็นและให้คุณค่ากับความเรียบง่าย 3) การพัฒนาสติและปัญญาเพื่อแยกแยะสิ่งที่ควรละวาง 4) ความสมดุลระหว่างการละและการรับใช้สังคม 5) การละกิเลสโดยไม่ทรมานตนเอง เน้นการละวางที่มีสติปัญญาและสมดุล ไม่สุดโต่งหรือทรมานตน
References
จิตตกานต์ มณีนารถ. (2550). การศึกษาเนกขัมมบารมีในเตมิยชาดก. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชวัลวิทย์ อรุณปราการ และคณะ. (2565). การใช้บารมี 10 ในการพัฒนาตนเองและสังคม. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(1), 49-56.
พระกวีวงศ์ (อิ่ม สารโท). (2556). ธรรมสมังคีของทศบารมีเป็นปัจจัยเกื้อหนุนในการตรัสรู้และการบำเพ็ญพุทธกิจของพระพุทธเจ้า. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
_________. (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต).
พระมหาพงศ์ศิริ ปญฺญาวชิโร. (2564). วิเคราะห์ทานบารมีในคัมภีร์อรรถกถาชาดก. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1) : 63-73.
พระศรีสุทธิพงศ์ (สม-ส่วน ปฏิภาโณ). (2561). เนกขัมมปฏิปทาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(1), 174-187.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2543). ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท. พิมพ์ครั้ง 4. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 31. กรุงเทพฯ : สหธรรมิก.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวิชรญาณวโรรส. (2499). ธรรมวิภาค ปริเฉทที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
Maha Chakri Sirindhorn HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn. (2000). The Ten Perfections in Theravada Buddhism. (4th ed.). Nakorn Pathom : Mahamakut Buddhist University Printing House.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.