การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องมารยาทของศาสนิกชนที่ดี โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based-Learning) สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแม่สลิดหลวงวิทยา จังหวัดตาก
คำสำคัญ:
นักเรียน, มารยาท, Activity-Based-Learningบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เรื่องมารยาทของศาสนิกชนที่ดี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแม่สลิดหลวงวิทยา จังหวัดตาก ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตราฐาน 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เรื่อง มารยาทของศาสนิกชนที่ดี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแม่สลิดหลวงวิทยา จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแม่สลิดหลวงวิทยา ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เรื่องมารยาทของศาสนิกชนที่ดี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแม่สลิดหลวงวิทยา จังหวัดตาก ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตราฐาน 80/80 ซึ่งมีความสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 ที่ตั้งไว้ 2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เรื่องมารยาทของศาสนิกชนที่ดี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแม่สลิดหลวงวิทยา จังหวัดตาก ก่อนเรียนมีค่าคะแนน (x = 11.71, S.D. = 4.31) และหลังเรียนมีค่าคะแนน (x = 16.05, S.D. = 4.14) ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าคะแนนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ที่ตั้งไว้
References
กรมวิชาการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
_______. (2551 ก.). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
รณชัย จันทร์แก้ว. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผลสัมฤทธิ์ และความคงทนในการเรียนวรรณคดีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 27(2), 165–178.
เอกพันธ์ โห้พันธ์. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ วิชาสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 4(1), 93-105
Lyman, F. T. (1981). The responsive classroom discussion: The inclusion of all students. Mainstreaming digest. MD : University of Maryland.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.