ศีลบารมีในพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • สิรินทร์ กันยาวิริยะ บริษัท ล.ธนวงศ์ (1997) จำกัด
  • ชิสา กันยาวิริยะ บริษัท ล.ธนวงศ์ (1997) จำกัด

คำสำคัญ:

ศีล, บารมี, ศีลบารมี, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงวิเคราะห์ศีลบารมีในพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการศึกษาพบว่า ศีลบารมีในพุทธปรัชญาเถรวาท หมายถึง “คุณธรรมของศีล” หรือ “บารมีของศีล” ซึ่งเป็นหนึ่งในทศบารมีที่สำคัญในการพัฒนาจิตใจและการบรรลุเป้าหมายสูงสุดทางจิตวิญญาณ ศีลในพุทธปรัชญาเถรวาทกำหนดขึ้นตามหลักเหตุผลของกฎธรรมชาติซึ่งสอดคล้องกับความเป็นจริง เป็นหลักธรรมของความบริสุทธิ์และเป็นแบบอย่างของความดีงาม องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับศีลบารมีในพุทธปรัชญาเถรวาท ได้แก่ MEW Model เพื่อการบำเพ็ญศีลบารมีประกอบด้วย M = Mindfulness คือ การมีสติ มีความตั้งมั่นแห่งจิต มีการอธิษฐานบารมีอย่างแน่วแน่ มีความสงบระงับแห่งจิต เกิดเนกขัมมะบารมีจากภายใน คือ เกิดความสงบระงับจากการรบกวนของกามคุณ 5 หรือกามราคะ มีความหนักแน่นจากภายในอันเกิดจากขันติบารมี เปรียบดังบุคคลที่ตั้งใจเล็งลูกธนูไปที่เป้าหมาย (คือศีลบารมี) E = Effort คือ ความเพียรพยายาม เปรียบดังอัตราความเร็วของลูกธนูที่พุ่งไปยังเป้าหมายอย่างไม่ลดละ มีแรงส่งพอที่จะทำให้ถึงเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ W = Wisdom คือ ปัญญา หรือปัญญาบารมี ที่สร้างความรู้ความเข้าใจในการรักษาศีลที่ถูกต้อง ไม่ผิดทาง เปรียบเสมือนการมีทักษะ มีปัญญาปฏิบัติ เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่าทิศทางเป้าหมายที่ถูกต้องที่ลูกศรควรพุ่งไปให้ถึงนั้นอยู่ ณ จุดใด จึงไม่พลาดเป้าหมายที่ตั้งใจบำเพ็ญศีลบารมีให้สำเร็จ

References

นวลวรรณ พูนวสุพลฉัตร. (2556). การศึกษาพระราชจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเนื่อง ด้วยการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระกวีวงศ์ (อิ่ม สารโท). (2556). ธรรมสมังคีของทศบารมีเป็นปัจจัยเกื้อหนุนในการตรัสรู้และการบำเพ็ญพุทธกิจของพระพุทธเจ้า. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระชนาเมธ เตชธโร (คำมุงคุณ) และ เสฐียร ทั่งทองมะดัน. (2565). ศีลในวิสุทธิมรรคในฐานะเป็นภาพสะท้อนวิถีชีวิตของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 7(1), 335-349.

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ). (2550). คําบรรยายวิปัสสนากรรมฐาน. กรุงเทพฯ : บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง จํากัด.

พระปลัดกิตติ ยุตฺติธโร. (2562). การประยุกต์ใช้ศีล 5 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากร วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์. วารสารธรรมวิชญ์, 2(2), 293-305.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.

_________. (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : บริษัท เอส. อาร์ พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.

พระพุทธโฆสเถระ. (2556). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลและเรียบเรียงโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

พระมหาจู่ล้อม ชูเลื่อน. (2546). ความกล้าหาญทางจริยธรรมในการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในทศชาติชาดก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหำบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระมหาพงศ์ศิริ ปญฺญาวชิโร. (2564). วิเคราะห์ทานบารมีในคัมภีร์อรรถกถาชาดก. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 63-73.

พระสุรเชษฐ์ อิทฺธิเตโช (ไชยรา) และคณะ. (2564). การประยุกต์ใช้หลักศีล 5 ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประจำวันของประชาชน บ้านส้มป่อยค่ายเมืองแสน ตำบลนาด่าน อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารปัญญาปณิธาน, 6(1), 215-228.

พุทธทาส อินทปญฺโญ. (2520). อริยศีลธรรม. กรุงเทพฯ : หจก. การพิมพ์พระนคร.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วศิน อินทสระ. (2557). สาระสําคัญแห่งวิสุทธิมรรค. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เม็ดทราย.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2524). “ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวิชรญาณวโรรส. (2499). ธรรมวิภาค ปริเฉทที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

_________. (2514). บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาคภาคที่ 2 สมาสและตัทธิต. กรุงเทพฯ : มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สมโภชน์ ยิ่งสังข์. (2552). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ศีลบารมีในภูริทัตชาดก. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Maha Chakri Sirindhorn HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn. (2000). The Ten Perfections in Theravada Buddhism. (4th ed.). Nakorn Pathom : Mahamakut Buddhist University Printing House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09/30/2024