คุณลักษณะของผู้นำที่ดีตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

ผู้แต่ง

  • ชิสา กันยาวิริยะ สาขาวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สิรินทร์ กันยาวิริยะ สาขาวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ผู้นำที่ดี, คุณลักษณะ, หลังนวยุค, หลังนวยุคสายกลาง, ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะของผู้นำที่ดีตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของผู้นำที่ดีตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลางควรมีลักษณะดังนี้ 1) ผู้นำควรมีความสามารถในการยึดเหนี่ยว แต่ไม่ยึดติด รับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย 2) ผู้นำควรมีความสามารถในการตีความใหม่หรือปรับเปลี่ยนมุมมองต่อปัญหาและสถานการณ์ต่าง ๆ โดยไม่ลดทอนคุณค่าหรือความเป็นจริงใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3) ผู้นำควรมีทักษะในการประสานความคิดเห็นที่หลากหลายและนำพาผู้คนให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) ผู้นำสามารถวิเคราะห์ ประเมินค่า และประยุกต์ใช้อย่างฉลาด 5) ผู้นำควรมีเจตนาเป็นกุศล มีทัศนคติที่ดี มีความคิดที่ริเริ่มสร้างสรรค์ 6) ผู้นำควรมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ 7) ผู้นำควรส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน 8) ผู้นำควรเป็นผู้ที่เปิดใจแสวงหาความรู้และแนวทางใหม่ ๆ อยู่เสมอเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในองค์กรและสังคม 9) ผู้นำควรมีความสามารถในการรักษาความสมดุลระหว่างความต้องการขององค์กรกับความต้องการของปัจเจกชนในทีม โดยคุณลักษณะเหล่านี้จะช่วยให้ผู้นำสามารถบริหารจัดการองค์กรและสังคมได้อย่างยั่งยืน

Author Biography

สิรินทร์ กันยาวิริยะ, สาขาวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

 

 

References

กีรติ บุญเจือ. (2551). คู่มือจริยศาสตร์ตามหลักวิชาการสากล. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.

ชนธัญ ติ๊บเมืองมา. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพะเยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพะเยา.

ชิสา กันยาวิริยะ และ สิรินทร์ กันยาวิริยะ. (2567). ผู้นําคุณธรรมตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารสถาบันพอดี, 1(6), 9-18.

ปรัชญา บุตรสะอาด. (2566). ภาวะผู้นำตามคุณลักษณะของผู้นำที่ดี. วารสารปราชญ์ประชาคม, 1(4), 42-58.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2546). ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.

พระราชวชิรเมธี (วีระ วรปญฺโญ). (2559). รูปแบบภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหาร มหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชวิจิตรปฏิภาณ (สุนทร ญาณสุนทโร). (2550). ยอดแห่งผู้นำ. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.

เมธา หริมเทพาธิป. (2561). การมีส่วนร่วมในมุมมองหลังนวยุค. รมยสาร, 16(3), 63-77.

วิษณุ อ๋องสกุล. (2558). การพัฒนาภาวะผู้นำผู้ประกอบการในวิทยาลัยอาชีวศึกษาสกลนครพัฒนศิลป์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศิรประภา อัคราภิชาต และคณะ. (2565). คุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 6(3), 276-292.

สุธี สุทธิสมบูรณ์ และ สมาน รังสิโยกฤษณ์. (2564). หลักการบริหารเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : ประชาชน.

อุทัย โล้วมั่นคง. (2552). การนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำทางจริยธรรมตามแนวพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Chester I. Barnard. (1969). Organization and Management. Cambridge, Massachusetts : Harvard University Press.

Jacobs, T.O. & Jaques, E. (1990). Military executive leadership. In measures of leadership. Eds. By K.E. Clark and M.B. Clark. West Orange, New Jersey : Leadership Library of America.

Ralph M. Stogdill. (1974). Handbook of Leadership : A Survey of Theory and Research. New York : The Free Press.

Ronald W. Stedt. (1974). Management Career Education Programs. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall.

Stephen R. Covey. (1992). Principle Centered Leadership. New York : Rockefeller Center.

Thomas J. Sergiovanni. (1996). Leadership for the Schoolhouse: How is it different? : Why is it important?. San Francisco : Jossey-Bass.

คุณลักษณะผู้นำที่ดี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09/30/2024