ปรัชญาการศึกษาตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

ผู้แต่ง

  • พจนา มาโนช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ปรัชญาการศึกษา, หลังนวยุค, หลังนวยุคสายกลาง, ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปรัชญาการศึกษาตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ผลการวิจัยพบว่า ปรัชญาการศึกษาตามหลักปรัชญาหลังนวยุค เน้นการท้าทายกรอบความคิดแบบเดิม ๆ และเปิดกว้างต่อการตีความที่หลากหลาย โดยปฏิเสธความเป็นจริงที่แน่นอนหรือนิยามเดียวที่ครอบคลุมทุกสถานการณ์ ในบริบทของการศึกษา ปรัชญานี้มุ่งเน้นการสนับสนุนการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น เปิดรับความแตกต่างทางความคิด และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในกระบวนการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ลักษณะสำคัญของปรัชญาการศึกษาตามหลักปรัชญาหลังนวยุค ได้แก่ 1) การปฏิเสธความจริงสัมบูรณ์ 2) การตีความอย่างมีวิจารณญาณ 3) ความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง 4) การเรียนรู้แบบองค์รวม 5) การเสวนาและสุนทรียสนทนา 6) การย้อนอ่านใหม่หมด ไม่ลดอะไรเลย และ 7) เป้าหมายการศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนและผู้สอน องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ปรัชญาการศึกษาตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ประกอบด้วย 1) การปรับปรุงแนวทางการเรียนรู้โดยเน้นความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับสภาพแวดล้อม 2) การสร้างเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 3) การบูรณาการวิธีการเรียนรู้เพื่อความยั่งยืน 4) การพัฒนาสมรรถนะเพื่อการอยู่ร่วมในสังคมที่ซับซ้อน 5) การพัฒนาความเป็นผู้นำเชิงปัญญาและการตัดสินใจที่มีเหตุผล

References

กันยาวีร์ สัทธาพงษ์. (2562). การประยุกต์ใช้อรรถปริวรรตการตีความปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อสร้างสมดุลชีวิตอย่างยั่งยืนด้วยมุมมองปรัชญาหลังนวยุค. วารสารเซนต์จอห์น, 22(30), 236-253.

กีรติ บุญเจือ. (2545). ปรัชญาหลังนวยุค แนวคิดเพื่อการศึกษาแผนใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดวงกมล.

เจตนิพัทธ์ พิธิยานุวัฒน์ และคณะ. (2564). อุเบกขากับปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(5), 2051-2063.

ชิสา กันยาวิริยะ และ สิรินทร์ กันยาวิริยะ. (2567). ผู้นําคุณธรรมตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารสถาบันพอดี, 1(6), 9-18.

พระครูโอภาสสราธิคุณ (ชาตรี อาสโภ). (2564).พุทธธรรมาภิบาลกับปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(4), 1444-1454.

พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม. (2561). ปรัชญาสากล : วิเคราะห์และวิจารณ์. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 6(1), 1-28.

พระมหาอนันต์ อนุตฺตโร (อันวิเศษ) และคณะ. (2565). หลังโครงสร้างนิยมกับอรรถปริวรรต. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 27(2), 257-271.

พระวิทยา ญาณเวที. (2563). ปรัชญาการศึกษากับรูปแบบการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยในสังคมไทย. วารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์, 3(2), 1-17.

เมธา หริมเทพาธิป. (2559). การมีส่วนร่วมในมุมมองหลังนวยุค. รายงานวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

_________. (2561). การมีส่วนร่วมในมุมมองหลังนวยุค. รมยสาร, 16(3), 63-77.

_________. (2563). การจูงใจตนเองในแนวทางหลังนวยุค. วารสารพุทธมัคค์, 5(1), 99-107.

เริงรณ ล้อมลาย และสุการต์พิชา ปิยะธรรมวรากุล. (2563). แนวคิดทางปรัชญาการศึกษาในบริบทของการศึกษาไทยระดับอุดมศึกษา. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 357-366.

สิรินทร์ กันยาวิริยะ และ ชิสา กันยาวิริยะ. (2567). การบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารสถาบันพอดี, 1(7), 27-40.

สุดธิณีย์ ทองจันทร์, เมธา หริมเทพาธิป และ กีรติ บุญเจือ. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยด้วยหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 10(1), 31-41.

สุนทร ณ รังษี. (2537). ปรัชญาอินเดีย : ประวัติและลัทธิ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรัชญาการศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09/30/2024