การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับแผนผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
ชุดฝึกทักษะ , การอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ , เทคนิค KWL Plus , แผนผังกราฟิกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนส่องดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 23 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ จำนวน 8 ชุด 2) คู่มือประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ เป็นแบบทดสอบ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มสัมพันธ์กัน (Dependent Samples t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
- ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับแผนผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 85.87/80.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
- ความสามารถในการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียน ด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับแผนผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับแผนผังกราฟิกอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.86, S.D. = 0.32)
References
ชวลิต ชูกำแพง. (2553). การวิจัยหลักสูตรและการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณัฐนันท์ โม้พิมพ์. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ที่มีต่อความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2553). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปิติยามาศ หลีวัฒนาสิริกุล, สุนิตย์ตา เย็นทั่ว และปวริศา จรดล. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมเก้าคำที่พ่อสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยเทคนิค KWL Plus กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(1), 34-43.
พรทิพย์ แข็งขัน และเฉลิมลาภ ทองอาจ. (2553). โมเดล 5 โมเดล การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อพัฒนากระบวนการคิดในคู่มือฝึกอบรมภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มยุรฉัตร ฉัตรพุฒิชัย. (2559). ผลการใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังกราฟิกต่อผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสระกะเทียมวิทยาคม ‘สังวร เจษฎ์ประภาคมอุปถัมภ์’จังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระ ศษ.ม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มนัญญา แก้วสองเมือง. (2556). เทคนิค KWL Plus. เข้าถึงได้จาก http://mananyakaryl.blogspot.com/p/kwlh-plus.html 1 พฤษภาคม 2556.
ยสุตมา ประทุมชาติ, เพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท และศิวภรณ์ สองแสน. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มโดยใช้เทคนิคแผนผังความคิดเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 9(21), 17-30.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2555). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2546). คู่มือการจัดกิจกรรมการอ่านเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุพัตรา มูลละออง. (2558). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การอ่านกลวิธีแบบร่วมมือและเทคนิคแผนผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสระยายโสมวิทยา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 8(2), 2656-2672.
สุวิทย์ มูลคำ. (2550). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
Buzan, Tony, & Buzan, Barry. (1993). The Mind Map Book. Originally published. London : BBC Book.
Carr, E. M. & Ogle, D. (1987). KWL Plus: A strategy for comprehension and summarization. Journal of Reading, 30(7), 626-631.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.