การศึกษาผลการพัฒนาความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลหลานรัก จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน

ผู้แต่ง

  • ปิยภัทร พลับพลา อาจารย์ ดร. สาขาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏรำไพพรรณี
  • ภัทราพรรณ วรรณประเสริฐ ครูโรงเรียนบ้านบึง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, การอบรม, การสามารถในการจัดการเรียนรู้, การนิเทศการสอน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลหลานรัก ระหว่างก่อนและหลังการอบรม และ 2) ศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลหลานรัก กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลหลานรัก จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.44-0.72 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.32-0.66 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 และ 2) แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จำนวน 15 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าความสอดคล้องเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.82-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระกัน (Paired samples t-test)

       ผลการวิจัยพบว่า

  1. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลหลานรัก หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  2. ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลหลานรัก อยู่ในระดับมากที่สุด ( equation= 4.88, S.D. = 0.56)

References

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบ Active learning (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ด ดูเคชั่น.

พิสมัย สิมสีพิมพ์. (2565). การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนบ้านน้ำพ่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 16 (1), 135-147.

วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 9(1), 135-145.

สมคิด บางโม. (2556). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2567). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.moe.go.th/360policy-and-focus-moe-fiscal-year-2024/ 4 มกราคม 2566.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-05-20

How to Cite

พลับพลา ป., & วรรณประเสริฐ ภ. (2025). การศึกษาผลการพัฒนาความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลหลานรัก จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 17(48), 98–104. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1370