การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพครูพลศึกษายุคใหม่ของนักศึกษาสาขาพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • ณรัช เจริญศิลป์ อาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง
  • ณภิญา เจริญศิลป์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, บุคลิกภาพครู, ครูพลศึกษายุคใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังของการพัฒนาบุคลิกภาพครูพลศึกษายุคใหม่ ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบุคลิกภาพครูพลศึกษายุคใหม่ และศึกษาแนวทางการพัฒนาบุคลิกภาพครูพลศึกษายุคใหม่ ของนักศึกษาสาขาพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาพลศึกษา จำนวน 184 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพครูพลศึกษายุคใหม่ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) อยู่ในช่วง 0.80-1.00 มีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษาพบว่า
1. สภาพที่เป็นจริงการพัฒนาบุคลิกภาพครูพลศึกษายุคใหม่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.61, S.D. = 0.58) สภาพที่คาดหวังการพัฒนาบุคลิกภาพครูพลศึกษายุคใหม่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.98, S.D. = 0.66)
2. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบุคลิกภาพครูพลศึกษายุคใหม่ของนักศึกษาสาขาพลศึกษา เรียงลำดับความสำคัญ ได้ดังนี้ อันดับ 1 ด้านความรู้และสติปัญญา (PNImodified = 0.13) อันดับ 2 ด้านวาจาและการสื่อสาร (PNImodified = 0.12) อันดับ 3 ด้านความสนใจและพัฒนาตนเอง และด้านอารมณ์ (PNImodified = 0.10) และ อันดับ 5 ด้านการปรับตัว และด้านกายภาพ (PNImodified = 0.09)
3. แนวทางการพัฒนาบุคลิกภาพครูพลศึกษายุคใหม่ของนักศึกษาสาขาพลศึกษา มี 2 ด้าน คือ ด้านความรู้และสติปัญญา และด้านวาจาและการสื่อสาร

References

จริญญา สมานญาติ. (2564). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาปฏิบัติการสอนมหาวิทยาลัย การกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชัยภูมิ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(4), 45-56.

ดิศพล บุปผาชาติ และคณะ. (2561). คุณลักษณะที่เป็นจริงของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในทัศนะของผู้บริหารและครู. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 18(1), 217-224.

ธมล เกลียวกมลทัต และคณะ. (2562). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(3), 566-579.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช และคณะ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา 21st Century Skills: A Challenge for Student Development. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.

พนมนคร มีราคา. (2560). ครูต้องมีลักษณะอย่างไรในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 5(2), 23-35.

พิชญาภา ยืนยาว และธีรวุธ ธาดาตันติโชค. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะของครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 470-480.

สุธน เพ็ชรนิล และคณะ. (2565). มาตรฐานที่พึงประสงค์ของนักศึกษาปฏิบัติการสอนพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 33(3), 93-102.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 33-42.

สุวิมล วองวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น: Needs Assessment Research. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Arbabisarjou, et al. (2016). Students’ Individual and Social Behaviors with Physical Education Teachers’ Personality. International Education Studies, 9(1), 154-160.

Asri Saidi, et al. (2019). Competency of PE Teachers in the 21st Century. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 1(4), 14-24.

Galimullina, et al. (2022). Analysis of Requirements for the Digital Competence of a Future Teacher. European Journal of Educational Research, 11(3), 1729-1745.

Guo Fengmin, et al. (2023). Development Competencies of Junior Middle School Physical Education Teachers in Dongguan City. International Journal of Sociologies and Anthropologies Science Reviews (IJSASR), 3(5), 403-420.

Nur Hidayah, et al. (2023). Assessing ideal teacher’s personality: Students’ perspective and expectations, Journal of Education and Learning (EduLearn), 17(4), 669-676.

Stejskalová, et al. (2022). Personality Development as a Key Aspect of Teacher Learning: A Pilot Study of the Training Programme Effects within the CLIMA Concept. Journal on Efficiency and Responsibility in Education and Science, 15(3), 168-180.

Yerdanova, et al. (2022). Components of image competencies of future physical education teachers. Journal of Educational Sciences, 17(5), 1715-1726.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-05-20

How to Cite

เจริญศิลป์ ณ., & เจริญศิลป์ ณ. (2025). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพครูพลศึกษายุคใหม่ของนักศึกษาสาขาพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 17(48), 69–77. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1351