การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อผสมร่วมกับแบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมทักษะ การเขียนสะกดคำภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนรู้ , สื่อผสม, แบบฝึกทักษะ , ทักษะการเขียนสะกดคำบทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อผสมร่วมกับแบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) สร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อผสมร่วมกับแบบฝึกทักษะ 3) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อผสมร่วมกับแบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในประเด็นต่อไปนี้ 3.1) เปรียบเทียบทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3.2) ศึกษาความพึงพอใจที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อผสมร่วมกับแบบฝึกทักษะ และ 4) ประเมินและปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อผสมร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหนองกร่าง จำนวน 25 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60–1.00 แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน มีค่า IOCเท่ากับ 1.00 แบบฝึกทักษะสระเอีย สระเอือ และสระอัว มีค่า IOC เท่ากับ 0.80 และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่า IOCตั้งแต่ 0.40–1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสะกัน(Dependent samples t-test)
ผลการวิจัย 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ รูปแบบ วิธีการ กรอบแนวทางการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้มุ่งเน้นพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่มีประสิทธิภาพ 2) ประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อผสมร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีค่าเท่ากับ 85.17/91.47 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 3) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อผสมร่วมกับแบบฝึกทักษะ พบว่า 3.1) ทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) ผลการปรับปรุงกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเรียงลำดับความยากง่ายของคำ กิจกรรมหลากหลาย เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วม ส่งเสริมความกล้าแสดงออก ความมั่นใจ เตรียมพร้อมในการฝึกทักษะอย่างมีระบบสม่ำเสมอ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและมีประสิทธิผลมากขึ้น
References
กชกร สมประสงค์. (2564). การศึกษาความสามารถในการเขียนสะกดคำรายวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. สารนิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
กมลพร เพชรกาฬ. (2564). การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนวัดสมัยสุวรรณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี เขต 4.
จีรนุช ภูทองเงิน. (2563). การพัฒนาการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
จุฑามาศ กุลศรีโล. (2565). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสื่อประสม เรื่องประโยคเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ธนาพล บัวคำโคตร. (2563). แนวทางพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธีรารัตน์ ไกรสีขาว. (2563). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้ภาษาถิ่นในชีวิตประจำวัน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. สารนิพนธ์ กศ.ม. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นิพนธ์ ภัทรวังส์ และคนอื่น ๆ. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2560–2570. กาญจนบุรี: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4.
เบญจมาศ หารเอี่ยม. (2564). การพัฒนาความสามารถในการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค STAD โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ประวีณ์นุช ศิริบูรณ์. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำพื้นฐาน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ปราณี นิตยะ. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครพนม: มหาวิทยาลัยนครพนม.
พีรภาว์ ลบช้าง. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับเกมการแข่งขันสะกดคำวิชาภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. สารนิพนธ์ กศ.ม. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มาลัย พงษ์อนัน. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านและการเขียนสะกดคำพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
รัชดากร หมื่นนะโม. (2565). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยไม่ตรงตามมาตราโดยใช้เกมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยสะลักวิทยา อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
รัฐชญา ขวัญทองยิ้ม. (2564). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1-34. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
วนิดา ภูชำนิ. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : กรณีโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วรัญญา ไวบรรเทา. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานพนธ์ ศษ.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
สมาน บรฮีม. (2563). การศึกษาความสามารถการอ่านและเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการสะกดคำภาษาไทย. สารนิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
สุมันทนา ดุลนีย์. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสมเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อรวรรณ ไชยชาญ. (2562). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็นสำหรับครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออก. ดุษฎีนิพนธ์ ปร.ด. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.