การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คำคล้องจอง โดยใช้นวัตกรรมเพลงประกอบการสอน ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนธิดาแม่พระ กระบี่
คำสำคัญ:
คำคล้องจอง, เพลงประกอบการสอน , แบบฝึกทักษะบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง คำคล้องจอง โดยใช้นวัตกรรมเพลงประกอบการสอนร่วมกับแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเพลงประกอบการสอนร่วมกับแบบฝึกทักษะ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเพลงประกอบการสอนร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนธิดาแม่พระ กระบี่ จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2567 จำนวน 20 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เพลงประกอบการสอน แบบฝึกทักษะ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent samples t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง คำคล้องจอง โดยใช้นวัตกรรมเพลงประกอบการสอนร่วมกับแบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.80/89.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเพลงประกอบการสอนร่วมกับแบบฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเพลงประกอบการสอนร่วมกับแบบฝึกทักษะ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.98, S.D. = 0.08)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). เข้าถึงได้จาก http://academic.obec.go.th/images/document/1559878925_d_1.pdf
กาญจนา ชลเกริกเกียรติ. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะสาระการเรียนรู้
ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. สุราษฎร์ธานี: โรงเรียนวัดบ่อมะปริง.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพ E1/E2 ที่ถูกต้อง. เข้าถึงได้จาก https://www.kruachieve.com/
ชัยวัฒน์ เหล่าสืบสกุลไทย. (2549). เพลงเพื่อการสอนและการจัดกิจกรรมนันทนาการ. กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐฐิดา สุขสําราญ. (2561). รายงานการวิจัยเรื่อง ผลการสอนโดยใช้เพลงประกอบที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
ภรภัทร เฉตวงษ์. (2562). การใช้นิทานพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำคล้องจอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2550). การสอนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). ผลสอบระดับประเทศ NT ปีการศึกษา 2565. เข้าถึงได้จากhttp://180.180.244.48/NT/ExamWeb/FrLogin.aspx?ReturnUrl=%2fNT%2fExamWeb%2f
อดิสรณ์ โมรี, ชมพูนุท เมฆเมืองทอง และภูษิต บุญทองเถิง. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง คำคล้องจองโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(2), 196-203.
Jensen. (2009). ทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนรู้. เข้าถึงได้จาก http://nurasina.blogspot.com/p/blog-page_5561.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.