การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสรุปความ เรื่อง นิทานคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ โดยใช้วิธีการแบบแฮร์บาร์ตร่วมกับโปรแกรมประยุกต์

ผู้แต่ง

  • ณัฐฐินันท์ หนูสาย นักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยตาปี
  • สตรีขวัญ อัมภา นักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยตาปี
  • เลิศพร อุดมพงษ์ อาจารย์ ดร. คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยตาปี

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสรุปความ , นิทานคุณธรรม , วิธีการแบบแฮร์บาร์ต , โปรแกรมประยุกต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบแฮร์บาร์ตร่วมกับโปรแกรมประยุกต์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสรุปความ เรื่อง นิทานคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ของนักเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบแฮร์บาร์ตร่วมกับโปรแกรมประยุกต์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 29 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 2 แผน ซึ่งผลประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสรุปความ เป็นปรนัย จำนวน 20 ข้อ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความยาก อยู่ระหว่าง 0.65-0.80 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.20-0.50 และค่าความเที่ยงของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.75 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้วิธีการแบบแฮร์บาร์ตร่วมกับโปรแกรมประยุกต์ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และประสิทธิภาพ E1/E2

       ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบแฮร์บาร์ตร่วมกับโปรแกรมประยุกต์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.45/83.62 เป็นไปตามเกณฑ์ 70/70 ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ของผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสรุปความ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมด และ 3) โดยรวมนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบแฮร์บาร์ตร่วมกับโปรแกรมประยุกต์อยู่ในระดับมาก  (equation= 4.48, S.D. = 0.66)

References

จารุฬี แสงอรุณ. (2559). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนสรุปความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพ E1/E2 ที่ถูกต้อง. เข้าถึงได้จาก https://www.kruachieve.com/. 4 พฤศจิกายน 2567.

ดวงใจ เจิมแล. (2558). รูปแบบจัดการเรียนรู้แบบแฮร์บาร์ต. เข้าถึงได้จาก https://ployduangjai.blogspot.com/2015/08/blog-post.html 26 มีนาคม 2567.

นันทพร ภูครองนาค. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสะกดตามมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 โดยใช้ขั้นตอนของแฮร์บาร์ต (Herbart Formal Step) ประกอบแบบฝึก. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นิภาพรรณ แก้วอนันต์. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง พีระมิด กรวยและทรงกลม โดยวิธีการสอนแบบแฮร์บาร์ต. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 9(1), 105-118.

บรรเจิด หงษ์จักร. (2566). Canva คืออะไรใช้อะไรได้บ้าง. เข้าถึงได้จาก https://doga.up.ac.th/up_doga/up/ NewsRead.aspx?itemID=24097 17 มกราคม 2567.

วรารัชต์ มหามนตรี. (2562). เทคนิคการเขียนสรุปความ. เข้าถึงได้จาก https://www.nupress.grad.nu.ac.th/ 26 มีนาคม 2567.

วิภา วัฒนะ. (2558). ผลการสอนโดยใช้อภิปรายกลุ่มย่อยแบบระดมสมองกับการสอนโดยใช้เทคนิค SQ3RS ที่มีต่อการเขียนสรุปความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริพร แสงสึก, วรรณา บัวเกิด และสุภมาส อังศุโชติ. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีอาร์ อี เอ พี ที่มีต่อความสามารถในการเขียนสรุปความและความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยกลวิธีอาร์ อี เอ พีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอ่าวลึกประชาสรรค์กระบี่. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 10(5), 85-94.

ศิริพร อนุสภา และคณะ. (2565). เยาวชนไทยกับการศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 19(39), 209-228.

สมฤดี แจ้งข่าว. (2561). ผลการใช้วิธีการสอนแฮร์บาร์ตที่มีต่อมโนทัศน์และการประยุกต์ใช้ความรู้เศรษฐศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 หมวดวิชาสมรรถนะแกนกลาง. เข้าถึงได้จาก https://www.chaehomic.ac.th/uploads/20170117144825VNF9XEe/contents/file_20190905110145.pdf 26 มีนาคม 2567.

อังคณา ประกอบการคดี, ธนรัชฎ์ ศิริสวัสดิ และสุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนราธิวาสร่วมกับกิจกรรมการแสดงดิเกร์ฮูลู เป็นสื่อพัฒนาการเขียนสรุปความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านกาลิซา จังหวัดนราธิวาส. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 12(1), 20-32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-05-20

How to Cite

หนูสาย ณ., อัมภา ส., & อุดมพงษ์ เ. (2025). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสรุปความ เรื่อง นิทานคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ โดยใช้วิธีการแบบแฮร์บาร์ตร่วมกับโปรแกรมประยุกต์. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 17(48), 13–24. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1244