การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ปริซึม เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
คำสำคัญ:
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้, แนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก, การรู้เรื่องคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ปริซึม เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ 2) เปรียบเทียบการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเลิงนกทา จำนวน 1 ห้องเรียน โดยการสุ่มแบบกลุ่มจากหน่วยสุ่ม 22 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน 2) แบบวัดการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์ (One sample t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน (1) ขั้นกำหนดสถานการณ์และความเข้าใจในสถานการณ์ (2) ขั้นลงมือปฏิบัติและเรียนรู้แนวคิดสำคัญ (3) ขั้นสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และประยุกต์ใช้ความรู้กับสถานการณ์อื่น (4) ขั้นสร้างและหาผลลัพธ์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และ (5) ขั้นนำเสนอและตรวจสอบแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.75, S.D. = 0.43) ตามผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ
2. ผลการเปรียบเทียบการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ พบว่า
2.1 การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนแต่ละด้าน สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (= 4.35, S.D. = 0.79)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กิตติพงษ์ ยานุกูล. (2563). การพัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดเรื่องหลักการนับเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จิราภรณ์ บุญวิจิตร. (2565). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. เข้าถึงได้จาก https://so05.tcithaijo.org/index.php/Ratchaphruekjournal/article/view/261701/177732
ชนน คันธาวัตร์. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์เรื่อง ลำดับและอนุกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 30(1), 138-152. เข้าถึงได้จาก file:///D:/Downloads/5944-Article%20Text-6581-1-10-20190529%20(2).pdf
ฐิตามร หอกกิ่ง. (2566). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ข้อมูลหรรษากับปริศนาบริบทรอบตัวและความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้ โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. เข้าถึงได้จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/267177/181008
พิมพันธ์ เดชคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุข และพรเทพ จันทราอุกฤษฎ์. (2566). การเรียนรู้เชิงรุกเสริมสร้างสมรรถนะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพิชา เอกพันธ์. (2563). การพัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้นด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รัชณาภรณ์ คำศรี. (2566). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. EDUCATION JOURNAI, 6(1), 139-152. เข้าถึงได้จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edunsrujo/article/view/258971/175715
รุ่งทิวา บุญมาโตน. (2560). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร. เข้าถึงได้จาก https://journal.oas.psu.ac.th/index.php/asj/article/view/1250/1091
โรงเรียนเลิงนกทา. (2566). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาปีการศึกษา 2566. ยโสธร: โรงเรียนเลิงนกทา.
ลภัสรดา ภาราสิริสกุล. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWDL ร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ วท.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. เข้าถึงได้จากhttps://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmuj/article/view/248519/168900
ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์บริการวิชาการและเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษาและภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา. (2565). โปรแกรมวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (RESEARCH TOOLS ANALYSIS PROGRAM: RTAP). มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. เข้าถึงได้จาก https://edurtap.msu.ac.th/rtapapp/
สมรัตน์ บุญมั่น และอาทร นกแก้ว. (2566). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(8), 759-770. เข้าถึงได้จากhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/jmli/article/view/264328/179164
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2567). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกฐานสมรรถนะ : การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: อีเลฟเว่น สตาร์ อินเตอร์เทรด.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2567). ผลการประเมิน PISA 2022 : บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. เข้าถึงได้จาก https://drive.google.com/file/d/1d6ZcuyqEOd23fw1Jp1C9GRvRx03KFCZ0/view
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2566). การรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. เข้าถึงได้จาก https://www.scimath.org/article-mathematics/item/12794-mathematical-literacy-21
สิรินทิพย์ ญาณะพันธ์ และสิรินภา กิจเกื้อกูล. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก สำหรับนักเรียนชนเผ่าลาหู่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 16(2), 221-230. เข้าถึงได้จาก
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/241944/172007
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.