การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คำสั่งพื้นฐานโปรแกรม AutoCAD ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน , โปรแกรม AutoCADบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คำสั่งพื้นฐานโปรแกรม AutoCAD ก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชา ช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 จำนวน 39 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำสั่งพื้นฐานโปรแกรม AutoCAD จำนวน 4 แผน ผลการประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับดีมาก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67–1.00 ค่าความยาก อยู่ระหว่าง 0.43-0.78 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.25-0.75 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.88 และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบทางสถิติเปรียบเทียบกัน โดยใช้การทดสอบข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คำสั่งพื้นฐานโปรแกรม AutoCAD ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี หลังเรียนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
2. ความพึงพอใจในการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี พบว่า ในภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.58, S.D. = 0.34)
References
เขมกร อนุภาพ. (2560). การใช้การเรียนรู้แบบพัฒนาตนเอง เพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ฌอง เพียเจต์. (2553). ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism. เข้าถึงได้จาก https://www.moe.go.th
บัญชา นิยมแก้ว. (2540). การพัฒนาชุดการสอน กลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปิยธิดา คงวิมล (2560). การพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเอง เรื่องการเขียนสะกดคำของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์. 1(2), 46-54. เข้าถึงได้จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jehds/article/view/1073/212
วิชชุดา ขำประถม และชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2565). การพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติด้วยการจัดการเรียนรู้ในการฟัง และอ่านสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(3),104-116. เข้าถึงได้จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/258429
วิชุดา พรายยงค์. (2550).การพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเอง วิชา วรรณคดีไทย เรื่องร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล. (2560). บทสะท้อนแนวคิดว่าด้วยชุดการสอน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และชุดการเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 356-369. เข้าถึงได้จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/100974
สุปราณี เสงี่ยมงาม. (2560). การพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเอง เรื่องการผลิตวารสารวิชาการ สำหรับบุคลากร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2567). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2567 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้าง สาขาวิชาช่างก่อสร้าง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. เข้าถึงได้จากhttps://bsq.vec.go.th/Portals/9/Course/30/2567/30100/30106v8.pdf
อัญชลี ทองเอม และไพทยา มีสัตย์. (2559). การใช้อภิปัญญาพัฒนาความสามารถกำกับตนเองของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(111), 32-45. เข้าถึงได้จากhttps://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/247152
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.