การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ร่วมกับคำถามปลายเปิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ และพฤติกรรมการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์, พฤติกรรมการเรียน, การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน, คำถามปลายเปิดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับคำถามปลายเปิดกับนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบปกติ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับคำถามปลายเปิดกับนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบปกติ และ 3) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับคำถามปลายเปิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดโตนดหลวง (สุขประสิทธิ์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2 ห้องเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) ห้องเรียนละ 17 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับคำถามปลายเปิด จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 2) แบบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ มีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.65-0.76 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.35-0.59 และค่าความเชื่อมั่น 0.76 3) แบบวัดพฤติกรรมการเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.67-1.00 และ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มอิสระกัน (Independent samples t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับคำถามปลายเปิดสูงกว่านักเรียนได้ที่รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับคำถามปลายเปิดมีพฤติกรรมการเรียนรู้สูงกว่านักเรียนที่รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับคำถามปลายเปิดมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น โดยนักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนวิชาสังคมศึกษา ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และสามารถเขียนสรุปบทเรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยตนเอง
References
กิติกรณ์ เจะเหลา. (2555). ศึกษาการพัฒนาพฤติกรรมนักศึกษา โดยการใช้กระบวนการกลุ่มและการเสริมแรงบวก.เข้าถึงได้จาก http://www.pvca-ri.com/myfile/141014210649_1.pdf
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญสม ลอยบัณฑิตย์. (2547). การศึกษาผลของการทำกิจกรรมวาดภาพเป็นกลุ่มที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครสวรรค์: สถาบันราชภัฏนครสวรรค์.
ระพีพัฒน์ แก้วอ่ำ. (2559). การใช้คำถามปลายเปิดในการสอนคณิตศาสตร์. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(15), 206-211.
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity-based Learning (CBL). วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 23-27.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อนรรฆ สมพงษ์ และลดาวัลย์ มะลิไทย. (2560). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานในรายวิชาการศึกษาเอกสารและหลักฐานทางประวัติศาสตร์. สกลนคร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์. (2552). สร้างลูกให้เป็นอัจฉริยะ (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: บีพลัส.
Amirtha, M. T., & Umesh, S. J. (2014). Student learning behavior and Academic achiement: Unraveling Its relationship. Indian Journal of Applied Research, 4(12), 57-59.
Carin A. A., & Sund R. B. (1978). Creative Questioning and Sensitive Listening Technique: a Self–Guded Approach. New Jersey: Merrill/Prentice Hall.
Northampton Centre. (2012). What is Learning Behaviour?. Retrieved from http://www.ncflb.com/aboutus/learningbehaviour/
Watanabe, Y. (1999). Second language literacy through student-centered learning. The Internet TESL Journal, 5(2),Retrived from http://itelslj.org/Articles/Caprio-StudentCentered.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.