ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ, การเลือกเข้าศึกษาต่อ , คณะครุศาสตร์ , มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2567 ที่เข้าศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 162 คน ได้มาจากการสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) 0.906 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.87, S.D. = 0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยด้านหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
= 4.23, S.D. = 0.51) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของคณะ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
= 4.05, S.D. = 0.13) และปัจจัยด้านเหตุผลส่วนตัวมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (
= 3.45, S.D. = 0.31) ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่านักศึกษาให้ความสำคัญในเรื่องของหลักสูตร ซึ่งตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน นอกจากนี้นักศึกษายังให้ความสำคัญในเรื่องภาพลักษณ์ของคณะ เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ในอดีตเป็นวิทยาลัยครูที่มีชื่อเสียงมานานในจังหวัดฉะเชิงเทรา
References
กลุ่มงานยุทธศาสตร์ และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา (พ.ศ. 2561–2565) (ฉบับทบทวน). เข้าถึงได้จาก www.cco.chachoengsao.go.th/images/plan/plan_ccs65.pdf5 สิงหาคม 2565.
ไกรสิงห์ สุดสงวน. (2560). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal Silpakorn University, 10(1), 201-207.
ณัชชา สุวรรณวงศ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา (ระบบโควตา). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ธันยากร ช่วยทุกข์เพื่อน. (2558). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. สุทธิปริทัศน์, 29(90), 256-271.
ภัทรสุดา จารุธีรพันธุ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนสาขาวิชา ในระดับปริญญาตรีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 10(32), 35-46.
วิทวัส เหล่ามะลอ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2562 โดยผ่านการคัดเลือกด้วยระบบ TCAS. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วัลลภา สัมฤทธิ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีหลักสูตรนานาชาติ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนรัฐบาล ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(3), 61-72.
สมพล แก้วแทน. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการศึกษาต่อด้านดนตรีสากลในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดสงขลา. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7 23 มิถุนายน 2559 (หน้า 90-101). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 “พลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน”. เข้าถึงได้จากwww.nesdc.go.th/download/document/Yearend/2021/plan13.pdf 5 สิงหาคม 2565.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.