การกำกับดูแลองค์กรและสร้างประโยชน์ให้สังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Main Article Content

ภัทรศรี อินใจ

บทคัดย่อ

          การกำกับดูแลกิจการที่เป็นไปเพื่อการสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน นอกเหนือจากการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุน ซึ่งคณะกรรมการควรกำกับดูแลกิจการให้นำไปสู่ผล ยังสามารถแข่งขันได้และมีผลประกอบการที่ดีโดยคำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว. ประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เคารพสิทธิและมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย เป็นประโยชน์ต่อสังคม และพัฒนาหรือลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถปรับตัวได้ภายใต้ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงเป็นแนวคิดยุคใหม่ด้วยการยึดหลักการที่ว่า การทำสิ่งที่ดีและทำให้ดีหรือกระทำในสิ่งที่ควรกระทำ เช่น การกระทำในเรื่องที่สอดคล้องกับค่านิยมขององค์การ ดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์การ การเลือกทำในกิจกรรมที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อสร้างเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ขององค์การ แนวคิดการดำเนินงาน กิจกรรมการดำเนินงาน และการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การที่แสดงออกซึ่งความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในหลายรูปแบบด้วยคงวามเต็มใจและเอื้ออาทรต่อกัน เพื่อให้มนุษย์ในสังคมไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบและสามารถอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข เป็นการการปรับปรุงคุณภาพชีวิตมนุษย์ภายใต้ศักยภาพของระบบนิเวศน์วิทยาของโลก การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการพัฒนาที่บูรณาให้เกิดองค์รวม คือ องค์ประกอบทั้งหลายที่เกี่ยวข้องจะมาประสานกันครบองค์ และมีลักษณะอีกย่างหนึ่งคือ มีดุลยภาพ คือ ธรรมชาติแวดล้อมกับเศรษฐกิจจะต้องบูรณาการเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดสภาพที่เรียกว่าเป็นภาวะยั่งยืนทั้งในทางเศรษฐกิจและในทางสภาพแวดล้อม การคุ้มครองสภาพแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยใช้มนุษย์เป็นแกนกลางการพัฒนาเพื่อสร้างให้เกิดความสมดุล ระหว่างคนธรรมชาติ และสรรพสิ่ง เพื่อให้อยู่ร่วมกันด้วยความเกื้อกูลกัน ไม่ทำลายล้างกันทุกสิ่งในโลกก็จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง
          องค์ความรู้
          ในการดำเนินการการกำกับดูแลขององค์กรต้องมี ความรับผิดชอบในการกระทำของผู้นำองค์กร ความรับผิดชอบต่อกลยุทธ์ขององค์กร ความรับผิดชอบด้านการเงิน ความโปร่งใสในการดำเนินการ การประเมินผลการวิเคราะห์ผลการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ร่วมถึงการปกป้องผลประโยชน์ และการสืบทอดตำแหน่งที่กิจการ
          สรุปโดยย่อ
          การกำกับดูแลกิจการ ประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เคารพสิทธิและมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย เป็นประโยชน์ต่อสังคม และพัฒนาหรือลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถปรับตัวได้ภายใต้ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง และการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การที่แสดงออกซึ่งความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในหลายรูปแบบด้วยคงวามเต็มใจและเอื้ออาทรต่อกัน เพื่อให้มนุษย์ในสังคมไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบและสามารถอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข เป็นการการปรับปรุงคุณภาพชีวิตมนุษย์ภายใต้ศักยภาพของระบบนิเวศน์วิทยาของโลกด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน

Article Details

How to Cite
อินใจ ภ. . (2024). การกำกับดูแลองค์กรและสร้างประโยชน์ให้สังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. Journal of Sustainable Social Development, 2(4), 1–13. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/J_SSD/article/view/716
บท
Articles

References

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2551). เครื่องมือการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ รัตนไตร.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2550). การจัดการสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จํากัด.

สถาบันไทยพัฒน์. (2555). รายงานเพื่อความยั่งยืน Report Your CSR Update. กรุงเทพมหานคร: สถาบันไทยพัฒน์.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). ความรับผิดชอบต่อสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ก.พล พิมพ์ (1996) จํากัด.

Jonh Blewitt, (2015). The Impact of Corporate Governance on Firm Performance during The COVID-19 Pandemic: Evidence from Malaysia. Journal of Asian Finance, Economics and Business. 8 (2), 943-952.

M. Chabachib et al., (2020). Corporate Governance, Firm Performance and Capital Structure: Evidence from Indonesia. Research in World Economy. 11 (1), 48-55.

Zahroh and Hamidah, (2017). The Role of Corporate Governance in Firm Performance. SHS Web of Conferences. Online. Retrieved September 3, 2023, from: http://DOI:10.1051/ shsconf/20173413003.