การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการจัดการเรียนสอนวิชาสังคมศึกษาโดยใช้สื่อการสอนเชิงสร้างสรรค์ ในยุค NEW NORMAL กับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ของสถานศึกษาประถมศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความสำคัญของปัญหากระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2551 เริ่มใช้ในโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรและโรงเรียนที่มีความพร้อม ในปีการศึกษา 2552
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนสอนวิชาสังคมศึกษาโดยใช้สื่อการสอนเชิงสร้างสรรค์ ในยุค NEW NORMAL กับนักเรียนชั้นประถมศึกษา 2) เปรียบเทียบการจัดการเรียนสอนวิชาสังคมศึกษาโดยใช้สื่อการสอนเชิงสร้างสรรค์ ในยุค NEW NORMAL กับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
รูปแบบการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้รูปแบบวิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology Research) เป็นการผสมผสานวิธีการระหว่างวิธีการระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Methodology Research) กับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methodology Research)
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนวิชาสังคมศึกษา โดยการใช้สื่อการสอนเชิงสร้างสรรค์ ในยุค NEW NORMAL แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก เขต 1 โดยภาพรวมมีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การ ไตร่ตรอง ความพอใจ ความคิด ความพากเพียร
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ผลการเปรียบเทียบการจัดการเรียนวิชาสังคมศึกษา โดยการใช้สื่อการสอนเชิงสร้างสรรค์ ในยุค NEW NORMAL จำแนกตามสถานภาพ ประสบการณ์การทำงาน และวุฒิการศึกษา โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน จำแนกตามสถานภาพ และวุฒิการศึกษา มีระดับการปฏิบัติที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน มีระดับการปฏิบัติที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ คือ ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนแบบ E-learning เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปโดยย่อ การจัดการเรียนวิชาสังคมศึกษา โดยการใช้สื่อการสอนเชิงสร้างสรรค์ ในยุค NEW NORMAL โดยภาพรวมมีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความไตร่ตรอง ความพอใจ และ ความพากเพียร ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบการจัดการเรียนวิชาสังคมศึกษา โดยการใช้สื่อการสอนเชิงสร้างสรรค์ ในยุค NEW NORMAL จำแนกตามสถานภาพ ประสบการณ์การทำงาน และการศึกษา โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ (2545). แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัญญา ศิริโรจน์. (2551). “E-Learning System”. วารสารวิจัยรามคำแหง. 11 (1), 29-39.
สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิมพ์พันธ์ เตชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). ทักษะ 5C เพี่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์ สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สุธิดา ชัยชมชื่น (2553). การพัฒนาระบบปรับกิจกรรมการเรียนแบบออนไลน์ บนพื้นฐานกระบวนการจัดการความรู้สำหรับหลักสูตรผลิตครูช่างอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Clark. Ruth Colvin and Mayer. (2002). Richard. E. E-learning and The Science of Instruction. San Francisco. CA: Pfeiffer, 2002.
Holmes. Bryn and Gradener. John. (2006). E-Learning: Concepts and Practice. London: Sage, 2006.