การจัดการเรียนการสอนยุค NEW NORMAL กับวิชาสังคมศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะทำประโยชน์ให้แก่สังคมตามบทบาทและหน้าที่ของตนเองในฐานะพลเมืองดีภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต ดังนั้นหน้าที่ของครูผู้สอนในการจัดเรียนรู้้เพื่อสร้างความคิดรวบยอดทั้ง 5 ขั้นตอน ตั้งอยู่บนวิธีการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (inductive) ดังนั้นผู้สอนจะต้องให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนอย่างหลากหลาย และโค้ชให้ผู้เรียนคิดด้วยตนเองในแต่ละขั้นตอน อีกทั้งยังต้องมีความอดทนรอคอยคำตอบจากผู้เรียน และให้ข้อมูลย้อนกลับในทุกคำตอบ ที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิด ที่นำไปสู่การเกิดความคิดรวบยอดที่ถูกต้องแม่นยำความคิดรวบยอดเป็นรากฐานสำคัญของการคิดและการสร้างแนวคิด (Idea) ที่จะนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมให้เป็นจริง ผู้สอนควรจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดที่ถูกต้องแม่นยำ เพื่อที่ผู้เรียนจะได้เชื่อมโยงความคิดรวบยอดต่าง ๆ ได้ โดยใช้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น ได้แก่ 1) สังเกต/รับรู้ 2) จำแนก ความแตกต่าง 3) หาลักษณะร่วม 4) ระบุความคิดรวบยอด และ5) ทดสอบและนำไปใช้ ที่ผู้สอนจำเป็นจะต้องศึกษาจากข้อมูลหลายประการ เพื่อนำมาช่วยเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ของตน และการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดการเรียนรู้ไม่ว่าระดับใด จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการดังต่อไปนี้ 1) ผู้เรียน 2) บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน บรรยากาศทางจิตวิทยาในชั้นเรียน ผู้เรียน ธรรมชาติของผู้เรียนเป็นสิ่งที่ครูผู้สอนจะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก เกี่ยวกับความสามารถของสมอง ความถนัด ความสนใจ พัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจ ความต้องการพื้นฐานหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศักยภาพผู้เรียน
องค์ความรู้ การจัดการเรียนการสอนยุค NEW NORMAL กับวิชาสังคมศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพในสถานการณ์ที่ไม่ปกตินั้น ต้องอาศัยหลักการสำคัญ 8 ประการดังนี้ 1. ด้านเนื้อหาสาระของข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในระบบอีเลิร์น 2. ด้านการทำงานของระบบอีเลิร์นนิ่ง เป็นระบบเวลาจริงที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงบทเรียนได้ 3. ด้านความสารถของระบบอีเลิร์นนิ่ง ในการควบคุมการนำเสนอเนื้อหาสาระการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 4. ด้านกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองในอีเลิร์นนิ่งจะสัมพันธ์กับประสบการณ์ของผู้เรียน 5. ด้านความสามารถของอีเลิร์นนิ่ง ในการจัดการกับข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ อย่างฉลาด 6. ด้านความสามารถในการสร้างงานหรือภารกิจของอีเลิร์นนิ่ง ให้เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้เรียน 7. ด้านความสามารถทางด้านประสิทธิผลของอีเลิร์นนิ่งในการทำให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน และ 8. ด้านความรวดเร็วของอีเลิร์นนิ่งในการสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้เรียนได้ตามต้องการ
สรุปโดยย่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ในยุค NEW NORMAL 5 ขั้น ได้แก่ 1) สังเกต/รับรู้ 2) จำแนก ความแตกต่าง 3) หาลักษณะร่วม 4) ระบุความคิดรวบยอด และ5) ทดสอบและนำไปใช้ ที่ผู้สอนจำเป็นจะต้องศึกษาจากข้อมูลหลายประการ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ไอซีทีเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณการพิมพ์.
ปัญญา ศิริโรจน์ (2551). “E-Learning System”. วารสารวิจัยรามคำแหง. 11 (1), 29-39.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์ สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ราชกิจจานุเบกษา. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553. เล่มที่127. ตอนที่ 45 ก.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน). (2549). มาตรฐานตัวบ่งชี้และเกณฑ์การพิจารณาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ 2 พ.ศ.2549 -2553. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา,
โอภาส เอี่ยมสิริวงค์. (2551). วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับปรับปรุง.กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Clark. Ruth Colvin and Mayer. Richard. E. (2002). E-learning and The Science of Instruction. San Francisco. CA: Pfeiffer,.
Holmes. Bryn and Gradener. John. (2006). E-Learning: Concepts and Practice. London: Sage.