การรับรู้และทัศนคติต่อการเรียนรู้ด้วยการกำกับตนเองของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

ภัทรพร พรบรรดิษฐ์

บทคัดย่อ

          นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีระดับการรับรู้และทัศนคติที่เหมาะสมต่อการกำกับตนเองในการเรียนรู้ นักศึกษาเหล่านี้มีความคาดหวังหรือความเข้าใจที่สอดคล้องกับแนวคิดของการกำกับตนเองและมีการนำความรู้และทัศนคติเหล่านี้มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนรู้ของตนในระดับมหาวิทยาลัยหรือไม่ ประเด็นนี้มีความสำคัญเนื่องจากมีผลต่อการสำเร็จในการศึกษาและการพัฒนาตนเองของนักศึกษา การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และทัศนคติต่อการเรียนรู้ด้วยการกำกับตนเองของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 200 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Random sampling)  เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content Analysis) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า
          1. การรับรู้และทัศนคติต่อการเรียนรู้ด้วยการกำกับตนเองของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (1) ความเก่งในการค้นหาทรัพยากรเพื่อช่วยการเรียนในมหาวิทยาลัย: ค่าเฉลี่ย ( = 4.33) (2) ความเห็นว่าการค้นหาตนเองสามารถนำมาใช้ประโยชน์มากกว่าการเรียนในห้องเรียน: ค่าเฉลี่ย ( = 4.32)  (3) การเรียนรู้ด้วยตนเองนอกชั้นเรียนเป็นประจำ: ค่าเฉลี่ย 4.32 (4) ความเชื่อในการกำกับตนเองเพื่อการเรียน: ค่าเฉลี่ย ( = 4.19) (5) ความเห็นว่าแรงบันดาลใจและแรงจูงใจมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้: ค่าเฉลี่ย 4.19)  (7) การมองว่าการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีพื้นฐานมาจากการริเริ่มด้วยตัวเองงเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จในการเรียนและอนาคต: ค่าเฉลี่ย ( = 4.30)  (8) ความสามารถในการค้นหาวิธีการเรียนรู้ด้วยตัวเองเมื่อไม่เข้าใจในชั้นเรียน: ค่าเฉลี่ย( = 4.24) 
          2. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการรับรู้และทัศนคติต่อการเรียนรู้ด้วยการกำกับตนเองของนักศึกษา ได้แก่ การรับรู้ถึงความสำคัญของหลักสูตร การเรียนในห้องเรียน การเรียนรู้ผ่าน e-Learning การปรับทัศนคติตามสังคมและสภาพแวดล้อม การให้โอกาสในการทำงานจริง ความสำคัญของการปฏิบัติ การเคารพความคิดเห็นที่หลากหลาย และ การเน้นภาคปฏิบัติ


องค์ความรู้ใหม่ การรับรู้ถึงความสำคัญของหลักสูตรนักศึกษามีความเข้าใจและรับรู้ถึงความสำคัญของหลักสูตรที่เรียนให้ความสำคัญกับการศึกษาและเรียนรู้ในระดับปริญญาตรี การเรียนในห้องเรียน มีความสำคัญเนื่องจาก เปิดให้โอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นได้ โดยนำหลัก การเรียนรู้ผ่าน e-Learning ในการส่งเสริมพัฒนาความรู้และทักษะของนักศึกษา เป็นแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์และการปรับทัศนคติตามสังคมและสภาพแวดล้อม การเรียนรู้ควรสอดคล้องกับสังคมและสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษาทันสมัยและมีความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นสังคมและสิ่งที่เกิดขึ้น 
          สรุปโดยย่อ ผลการรับรู้และทัศนคติต่อการเรียนรู้ด้วยการกำกับตนเองของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้แก่ 1) ความเก่งในการค้นหาทรัพยากรเพื่อช่วยการเรียนในมหาวิทยาลัย 2) ความเห็นว่าการค้นหาตนเองสามารถนำมาใช้ประโยชน์มากกว่าการเรียนในห้องเรียน 3) การเรียนรู้ด้วยตนเองนอกชั้นเรียนเป็นประจำ 4) ความเชื่อในการกำกับตนเองเพื่อการเรียน 5) ความเห็นว่าแรงบันดาลใจและแรงจูงใจมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ 6) ความเห็นว่าการรับรู้และการกำกับตนเองสามารถนำมาประยุกต์ในการเรียน 7) การมองว่าการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีพื้นฐานมาจากการริเริ่มด้วยตัวเองงเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จในการเรียนและอนาคต และ 8) ความสามารถในการค้นหาวิธีการเรียนรู้ด้วยตัวเองเมื่อไม่เข้าใจในชั้นเรียน

Article Details

How to Cite
พรบรรดิษฐ์ ภ. . (2024). การรับรู้และทัศนคติต่อการเรียนรู้ด้วยการกำกับตนเองของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. Journal of Sustainable Social Development, 2(3), 1–20. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/J_SSD/article/view/564
บท
Articles

References

ดารณี พานทอง. (2542). ทฤษฎีการจูงใจ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พัชนี เชยจรรยา และคณะ. (2543). ทฤษฎีแม่บททางนิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย.

สร้อยตระกูล อรรถมานะ. (2541). พฤติกรรมองค์การ : ทฤษฎีและการประยุกต์. พิมพ์ลักษณ์: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร (2545). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

แสงเดือน ทวีสิน. (2545). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ไทยเส็ง.

Afshan, Kausar., Akshay, Berad. (2022). Self-Directed Learning Readiness among phase I undergraduate medical students. Perspectives In Medical Research. 10 (3), 39-42. doi: 10.47799/pimr.1003.07

Annamma, Kunjukunju., Aini, Ahmad., Puziah, Yusof. (2022). Self-directed learning skills of undergraduate nursing students. Enfermería clínica. 32, S15-S19. doi: 10.1016/j.enfcli. 2022.03.010

Delmo, Della‐Dora., James, D., Wells. (1980). Teaching for self‐directed learning. Theory Into Practice. 19 (2), 134-140. doi: 10.1080/00405848009542887

E.J., Burge., C.C., Frewin. (1989). Self-directed Learning in Distance Learning. 260-262. doi: 10.1016/B978-0-08-030851-7.50083-7

F., Medio., Stephen, J., Morewitz. (1994). Self-Directed Learning. In PRIMARY CARE PODIATRY, edited by J. Robbins. Philadelphia: W.B. Saunders Company,

Gibson. (2000). Organizations Behavior. (7th ed.). Irwin.

Foo, Sze-yeng., Raja, Maznah, Raja, Hussain. (2010). Self-directed learning in a socio-constructivist learning environment. Procedia - Social and Behavioral Sciences. 9, 1913-1917. doi: 10.1016/J.SBSPRO.2010.12.423

Sitti, Hadijah. (2022). Self-Directed Learning Attitudes: A Study on English Department Students. TLEMC (Teaching and Learning English in Multicultural Contexts). 6 (2), 96-106. doi: 10.37058/tlemc.v6i2.2757

Suryabhan, L., Lokhande., Tripti, K., Srivastava., Ashok, Ahirwar., Archana, Dhok. (2023). Small group-based self-directed learning (SDL) among undergraduate students in biochemistry. INTERNATIONAL JOURNAL OF SCIENTIFIC RESEARCH. 54-56. doi: 10.36106/ijsr/9404502

Schermerhorn (2000). Management. (7th ed.). John Wiley & Sons.

Schiffman and Kanuk. (2007)). Consumer behavior (9th ed.). Prentice – Hall.