การบูรณาการจัดการเรียนรู้วิชาหน้าที่พลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย โดยใช้หลัก อิทธิบาท 4 ของนักเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความสำคัญของปัญหาการเรียนที่จะประสบความสำเร็จที่ดีและมีผลการเรียนที่พัฒนาขึ้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ต้องใช้หลักธรรม อิทธิบาท 4 เป็นฐานหรือหโนทางสู่ความสำเร็จ หรือ คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ คุณเครื่องสำเร็จสมประสงค์ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้รายวิชาหน้าที่พลเมือง ตามวิถีประชาธิปไตยแบบบูรณาการโดยใช้หลักอิทธิบาท 4 ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้รายวิชาหน้าที่พลเมือง ตามวิถีประชาธิปไตยแบบบูรณาการโดยใช้หลักอิทธิบาท 4 ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำแนกตามเพศ อายุ และระดับชั้นที่ศึกษา
รูปแบบการวิจัยการวิจัยนี้เป็นวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (mixed methods) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ นักเรียนโรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ปีการศึกษา 2564 โดยผู้วิจัยได้เลือกจากนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 จำนวน 174 คน และ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 17 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (One – way ANOVA
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 การจัดการเรียนรู้รายวิชาหน้าที่พลเมือง ตามวิถีประชาธิปไตยแบบบูรณาการโดยใช้หลักอิทธิบาท 4 ของ นักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 การเปรียบเทียบระดับการจัดการเรียนรู้รายวิชาหน้าที่พลเมือง ตามวิถีประชาธิปไตยแบบบูรณาการโดย ใช้หลักอิทธิบาท 4 ของนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ จำแนกตามเพศ อายุและ ระดับชั้นการศึกษา มีระดับความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน
ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ คือ การบูรณาการจัดการเรียนรู้วิชาหน้าที่พลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษา เกิดจากหลักวิชาหน้าที่พลเมืองตามวิธีประชาธิปไตย ประยุกต์เข้ากับหลักอิทธิบาท 4 อันได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ผลลัพธ์ที่ออกมา ได้แก่ การถ่ายทดองค์ความรู้ การสร้างองค์ความรู้ และการพัฒนาองค์ความรู้
สรุปโดยย่อ การจัดการเรียนรู้รายวิชาหน้าที่พลเมือง ตามวิถีประชาธิปไตยแบบบูรณาการโดยใช้หลักอิทธิบาท 4 ของ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ทุกด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก การเปรียบเทียบระดับการจัดการเรียนรู้รายวิชาหน้าที่พลเมือง ตามวิถีประชาธิปไตยแบบบูรณาการโดย ใช้หลักอิทธิบาท 4 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
ธนภัทร ทวีศรี. (2557). ประสิทธิผลการบริหารงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บัญชา ท่าทอง. (2556). ศึกษาการใช้หลัก พัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสุวีริยา สาสน์ จำกัด
พจนานุกรมพุทธศาสน์. (2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์รวมเล่ม 3 ภาค ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.
พระธรรมปิฎก. (2539). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์รวมเล่ม 3 ภาค ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.
พระสมชาย อติพฺพโล (พลขันธ์). (2556). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการใช้ ในการบริหารงานของ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยามหามกุฏราชวิทยาลัย.
เมย์ อํานวยพันธ์วิไล. (2555). วิธีการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามหลัก ของกลุ่มโรงเรียน ขาณุวรลักษณ์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกําแพงเพชร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.