ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภาวะผู้นำมีความสำคัญมากต่อการดำเนินกิจการขององค์กร ช่วยให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นภาพรวมและขอบเขตได้อยางกว้างขวางและชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพราะการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์มีความลึกซึ้งในการวิเคราะห์ปัญหาในระดับที่มัยสำคัญต่ออนาคตขององค์กร บทความนี้ผู้เขียนมีความประสงค์ที่จะสืบเสาะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารการศึกษา
ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการของการใช้อิทธิพล ผู้นำจะพยายามมีอิทธิพลเหนือผู้ตามเพื่อให้มีพฤติกรรมการปฏิบัติงานตามต้องการโดยมีจุดมุ่งหมายขององค์กรเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เรื่อง ของบุคคลที่จะพึงมีภาวะผู้นำได้ โดยที่ไม่ได้มีกระบวนการทำใด ๆ เป็นกระบวนการ ให้เกิดอิทธิพลต่อผู้อื่น เป็นบุคคลที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้อื่น ทั้งภายในและภายนอกองค์กร และเป็นผู้กำหนดทิศทางขององค์กรประสานความร่วมมือกันของบุคคลในองค์กร เพื่อให้องค์กรดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าในระดับต่าง ๆ ทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการเป็นผู้ที่มีอิทธิพล และเป็นที่ยอมรับของสมาชิกในกลุ่ม และใช้ความสามารถของตนเองโดยวิธีการต่าง ๆ ชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากจะมีภาวะผู้นำแล้ว ยังต้องผู้นำเชิงกลยุทธ์ มีเป็นรูปแบบการตัดสินใจที่มีเหตุผลชัดเจน และรวมหลายสิ่งหลายอย่างเข้าเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งเปรียบเสมือนแผนการดำเนินงานที่สำคัญ เพื่อจะนำไปสู่การบรรลุ วัตถุประสงค์ในระยะยาวการสร้างหรือพัฒนาวิธีทางในทางปฏิบัติตลอดจนการระดม และจัดสรรทรัพยากรขององค์กร และการกำหนดเป้าหมายวัตถุประสงค์ กระบวนการทำงาน ความต้องการขององค์การ และการเลือก ระบบที่จะนำมาพัฒนาและใช้เป็นแผนแม่บทหรือแผนหลักของการพัฒนาระบบขององค์การ และกลยุทธ์สัมพันธ์กับประเด็นต่าง ๆองค์ประกอบของกลยุทธ์ ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ (Vision) ภารกิจ วัตถุประสงค์ และยุทธวิธี ความสำคัญของกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การในระยะยาวอย่างสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เผชิญอยู่จึงจำเป็น จะต้องอาศัยการวางแผนกลยุทธ์ ที่แตกต่างจากการวางแผนโดยทั่วไป เพราะคำว่า กลยุทธ์ จะต้องเกี่ยวของกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ภายนอกซึ่งเกี่ยวของกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดลอมทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองเป็นตน ที่ เป็นทั้งโอกาสและอุปสรรคหรือภยันตราย และสภาพแวดล้อมภายในที่เป็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน ซึ่งเกี่ยวของกับความสามารถขององค์การ และเป็นกระบวนจัดการที่ช่วยให้ผู้บริหารเกิดความ เข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลง และมีวิสัยทัศน์ต่ออนาคต ทำให้สามารถกำหนดวัตถุประสงค์ และทิศทางการ ดำเนินงานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้อย่างเป็นรูปธรรม
องค์ความรู้ การที่จะเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ในการบริหารการศึกษาได้นั้น จะต้องประกอบด้วย หลักแนวคิดเชิงกลยุทธ์และหลักการแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ที่เป็นส่วยประกอบสำคัญ คือผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเข้าใจถึงหลักกลยุทธ์ ได้แก่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ ยุทธวิธี ผสมผสานกับแนวคิดของภาวะผู้นำ ได้แก่ ผู้นำที่ใช้อำนาจ การสนับสนุนการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วม และการมุ่งความสำเร็จของงาน สรุปโดยย่อ การที่จะเกิดภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาได้ ต้องประกอบด้วยแนวคิดเชิงกลยุทธ์ร่วมกับลักษณะของภาวะผู้นำ มีได้ดังนี้ 1. วิสัยทัศน์ เป็นการมองภาพอนาคตของผู้บริหารสถานศึกษาใสถานการศึกษา 2. พันธกิจ คือ คำแถลงความมุ่งประสงค์ทางการศึกษา 3. วัตถุประสงค์ คือจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนของสถานศึกษา 4. ยุทธวิธี คือ ศิลปะของการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา 5. การใช้อำนาจ ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้มีคาดหวังอะไรจากผู้ปฏิบัติงาน 6. การสนับสนุนการปฏิบัติงาน คือผู้บริหารสถานศึกษาที่ให้การสนับสนุนบุคคลากรทางการศึกษามีพฤติกรรมผู้นำที่เป็นมิตร 7. การมีส่วนร่วม คือ การที่ผู้บริหารสถานศึกษาที่ให้บุคลากรทางการศึกษามีส่วนร่วมปรึกษาหาหรือกัน และ 8. การมุ่งความสำเร็จของงาน คือ ผู้บริหารสถานศึกษามุงที่ความสำเร็จของงาน มีการกำหนดเป้าหมายของงานและความคาดหวังต่อบุคลากรทางการศึกษาไว้สูง
Article Details
References
กวี วงศ์พุฒ. (2551). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาวิสัยทัศน์นักบริหาร.
ชนินท์ ชุณหพันธรักษ์. (2551). นโยบายธุรกิจและการบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: โครงการศูนย์หนังสือสถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
ชาญชัย อาจินสมาจารย์. (2541). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี จำกัด
ชูศักดิ์ เที่ยงตรง. (2547). การบริหารงานบุคคลในภาครัฐกิจ. กรุงเทพมหานคร: โครงการผลิตตำราและวิจัยทางรัฐศาสตร์คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2539). การวางแผนกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.
ธงชัย สันติวงษ์. (2556). การวางแผนเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนพานิช.
บุญมี จันทรวงศ์. (2553). ยุทธศาสตร์การพัฒนาสหกรณ์ในภาคการเกษตร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2546). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คไทม์.
พสุ เดชะรินทร์. (2556). กลยุทธ์ใหม่ในการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: ฮาซัน พริ้นติ้ง.
พิชาภพ พันธ์แพ. (2554). ผู้นำกับการจัดการการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติ์ขจร. (2553). ผู้นำการบริหารยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.
มีเดีย อินเทลลิเจนช์ เทคโนโลยีฒ. (2546). รวมกฎหมายการศึกษาฉบับสมบูรณ์. ปทุมธานี: บริษัทไทยเนรมิตกิจอินเตอร์ โปรเกรสชีพจำกัด.
รัตติกรณ์ จงวิศาล .(2551). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยหอการค้า.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์,
วิเชียร วิทยอุดม. (2551). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธีระฟิลม์และไซเท็กซ์.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2553). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา: แนวคิดและกรณีศึกษา. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
สมพงษ์ สิหะพล. (2547). ผู้นำทางวิชาการและการพัฒนาหลักสูตร. นครราชสีมา: สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.
สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์. (2546). หลักการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. เชียงราย : สถาบันราชภัฎเชียงราย.
สุรพล บัวพิมพ์. (2551). การวางแผนยุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2544). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสาวนิตย์ ชัยมุสิก. (2551). การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระดับสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์การพิมพ์.
อัครเดช นีละโยธิน. (2563). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วารสารการศึกษาและวิจัยทางพระพุทธศาสนา. 6 (2), 61.