ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเลือกตั้งจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นการแสดงออกทางด้านสิทธิเสรีภาพทาง ความคิดของประชาชนที่ต้องการตัวแทนของตนเองให้มีนโยบายในการบริหาร การเลือกจึงตั้งเป็นกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยโดยการไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนที่มีนโยบายตรงกับความต้องการของตนเอง มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชน และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชน
รูปแบบการวิจัย งานวิจัยนี้เป็นแบบผสานวิธีโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้มีจำนวน 397 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ระดับปัจจัยที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการปฏิบัติตนตามหลักอิทธิบาท 4 อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการรณรงค์หาเสียง อยู่ในระดับมากและด้านนโยบายการเลือกตั้ง อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ด้านสื่อบุคคล ด้านการรณรงค์หาเสียง ด้านนโยบายการเลือกตั้ง ด้านการปฏิบัติตนตามหลักอิทธิบาท 4 มีความสัมพันธ์กับการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ ระดับ 0.05
ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ คือ การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ขึ้นอยู่กับการรับรู้ด้านสื่อบุคคล ด้านการรณรงค์หาเสียง ด้านนโยบายการเลือกตั้ง ด้านการปฏิบัติตนตามหลักอิทธิบาท 4 มี ความสัมพันธ์กับการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ดังนั้นจึง 1) ควรส่งเสริมให้ประชาชนมีสติในการรับฟังข่าวสาร เข้าใจถึงกลยุทธ์ของสื่อเพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือในการสร้างผลประโยชน์ทางการเมือง 2) ควรมีนโยบายส่งเสริมด้านการให้ความรู้ด้านประชาธิปไตยให้กับประชาชน โดยเฉพาะสิทธิของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยและรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิ เลือกตั้ง และ 3) ควรเชิญชวนชาวบ้านไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง เพื่อสรรหาบุคลากรผู้ที่จะสามารถมาทำหน้าที่รับใช้ประชาชนได้
สรุปโดยย่อ ปัจจัยที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ด้านสื่อบุคคล ด้านการรณรงค์หาเสียง ด้านนโยบายการเลือกตั้ง ด้านการปฏิบัติตนตามหลักอิทธิบาท 4 มีความสัมพันธ์กับการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ ระดับ 0.05
Article Details
References
โกวิทย์ พวงงาม และอลงกรณ์ อรรคแสง. (2547). มิติใหม่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น: ผู้บริหาร ท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์เสมาธรรม.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: เทพเนรมิตร
ธีรวุฒิ โศภิษฐิกุล. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย. ฉะเชิงเทรา: เอ็มเอ็นคอมพิวออฟเซท.
ประทาน คงฤทธิศึกษากร. (2543). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในองค์กรการบริหารส่วนตำบล: ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ประหยัด หงส์ทองคำ. (2543). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2534). การเลือกตั้งกับการพัฒนาทางการเมือง. เอกสารการสอนชุดวิชาปัญหากับการพัฒนาทางการเมืองไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พันธุ์ทิพา อัครธีรนัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครนายก: ศึกษาในช่วงเวลา พ.ศ. 2559. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการเมือง วิทยาลัยสื่อสารการเมือง: มหาวิทยาลัยเกริก.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2543). การเมืองและการปกครองไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วิสุทธิ โพธิแท่น (2524). ประชาธิปไตยแนวความคิด และตัวแบบประเทศประชาธิปไตยในอุดมคติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2565). ความรู้เกี่ยวกับสมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่นการหาเสียงและค่าใช้จ่ายในการหาเสียงท้องถิ่น. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: http://www.loppao.com/images/Document Service/carrot0010/buy9/kit12-9 62/4.pdf
สุขุม นวลสกุล (2534). การเมืองและการปกครองไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย- รามคำแหง.
อรัญญา เริงสำราญ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง: มหาวิทยาลัยเกริก.
อุทัย หิรัญโต. (2523). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.