หลักบริบทอปริหานิยธรรมกับพฤติกรรมทางการเมือง

Main Article Content

ภานุวัฒน์ นามสิทธิ์

บทคัดย่อ

           บทความวิชาการนี้เห็นว่าแนวคิดของระบอบประชาธิปไตยถือว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ภายใต้หลักการแบ่งแยกและตรวจสอบการใช้อำนาจ โดยมีองค์กรผู้ใช้อำนาจทางนิติบัญญัติ องค์กรผู้ใช้อำนาจทางบริหารและองค์กรผู้ใช้อำนาจทางตุลาการ เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน เนื่องจากบทบาททางการเมืองของประชาชนในฐานะที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยจึงเป็นหัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย
           ผลการศึกษา หลักอปริหานิยธรรม 7 เป็นหลักการร่วมรับผิดชอบที่จะช่วยป้องกันความเสื่อม นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองโดยส่วนเดียวดังนี้ 1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ 2. พร้อมเพรียงกันประชุม 3. ไม่ถืออำเภอใจใคร่ต่อความสะดวก 4. ผู้ใดเป็นผู้ใหญ่มีประสบการณ์ยาวนาน 5. ให้เกียรติและคุ้มครองกุลสตรี 6. เคารพสักการบูชาเจดีย์ปูชนียสถาน 7. จัดให้ความอารักขา บำรุง คุ้มครอง อันชอบธรรม แก่บรรพชิตผู้ทรงศีลทรงธรรม พฤติกรรมทางการเมือง หมายถึง การแสดงออกทางการเมืองทั้งในการกระทำหรือความรู้สึกนึกคิด และ ทัศนคติทางการเมือง ตลอดจนการมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งที่มีผลก่อให้เกิดการพัฒนาร่วมมือ หรือขัดแข้ง ซึ่งพฤติกรรมทางการเมืองนั้นมีหลายรูปแบบ อาทิ เช่น การออกเสียงเลือกตั้ง การปฏิบัติตามกฎหมาย ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางการเมืองข้างต้น สามารถแบ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมในบริบทต่างๆ เช่น บริบททางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม เป็นต้น และปัจจัยที่สอง คือ ปัจจัยที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคล ที่กระทบต่อสิ่งเร้า การรับรู้ ทัศนคติ ความเชื่อ เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการตัดสินใจให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง
           องค์ความรู้  หลักอปริหานิยธรรม 7 เป็นหลักการร่วมรับผิดชอบที่จะช่วยป้องกันความเสื่อม นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองให้แก่บุคคลและองค์กร ดังนี้ หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พร้อมเพรียงกันประชุม 3. ไม่ถืออำเภอใจใคร่ต่อความสะดวก ผู้ใดเป็นผู้ใหญ่มีประสบการณ์ยาวนาน ให้เกียรติและคุ้มครองกุลสตรี เคารพสักการบูชาเจดีย์ปูชนียสถาน และจัดให้ความอารักขาคุ้มครองอันชอบธรรม ที่เอื้อต่อการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมทางการเมืองของผู้คน ได้แก่ ในด้านพฤติกรรมทางการเมือง ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง      ด้านการให้ความรู้ทางการเมือง และด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง
           สรุปโดยย่อ หลักอปริหานิยธรรม 7 สามารถส่งผลต่อพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนให้แสดงออกในทางการเมืองที่เหมาะสมและป้องกันความรุนแรงทางการเมือง

Article Details

How to Cite
นามสิทธิ์ ภ. (2024). หลักบริบทอปริหานิยธรรมกับพฤติกรรมทางการเมือง . Journal of Sustainable Social Development, 2(2), 15–27. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/J_SSD/article/view/535
บท
Articles

References

คณิต ณ นคร และคณะ. (2545). รัฐธรรมนูญกับกระบวนการยุติธรรม. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

จักรพันธุ์ วงษ์บูรณาวาทย์. (2543). ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บุศรา โพธิสุข. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. วิทยาเขตเชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.

พระพรหมคุณาภรณ์, (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รสลิน ศิริยะพันธุ์ และคณะ. (2551). พฤติกรรมทางการเมืองของชนชั้นกลางกับพัฒนาการทางการระบบใหม่ของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิชัย ตันศิริ. (2547). วัฒนธรรมทางการเมืองและการปฏิรูป. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สถาบันนโยบายการศึกษา.

สถิต นิยมญาติ. (2524). สังคมวิทยาการเมือง. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จํากัด.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2539). สารานุกรมพระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย