สภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาตามหลักบุญกิริยา วัตถุ 3 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษของจังหวัดชัยนาท

Main Article Content

รัตนกรณ์ พิมพ์พิลัย

บทคัดย่อ

           การบริหารการศึกษาก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน เนื่องจากการศึกษามีส่วนช่วยในการที่ช่วยพัฒนาคนในชาติทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์ และสังคม เพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การวางแผนการศึกษาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงงานและบทบาทของการศึกษาให้ครอบคลุมทุกด้าน วัตถุประสงค์ของการวิจัย1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 2) เพื่อเสนอแนวการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ
           ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า สภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยภาพรวม มีระดับการปฏิบัติเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน รองลงมาคือ ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
           ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า แนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ผู้บริหาร ครูและบุคลากร อาศัยหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ประกอบด้วย 1) ทานมัย คือ การให้ทาน ผู้บริหาร ครูและบุคลากร ควรเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้มีส่วนร่วมในการทำงาน แสดงความยินดี ยอมรับเห็นชอบในการทำงานซึ่งกันและกัน 2) ศีลมัย คือ การรักษาศีล ผู้บริหาร ครูและบุคลากร ควรมีการช่วยเหลือ เพื่อพัฒนางานให้ประสบความสำเร็จ และ  3) ภาวนามัย คือ การอบรมจิตใจ ผู้บริหาร ครูและบุคลากร ควรมีการฝึกอบรมพัฒนา มีการรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน การให้คำแนะนำ ให้ความรู้แก่ผู้ร่วมปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของงาน
           ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ คือ การบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมด้านทานมัย คือ การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการต่าง ๆ โดยการให้ทาน การเสียสละ การเอื้อเฟื้อ การแบ่งปัน การให้ทานด้วยจิตใจที่ดีงาม การบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมด้านศีลมัย คือ การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการโดยการประพฤติสุจริต การรักษาศีล และการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมด้านภาวนามัย คือ การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ โดยการฝึกอบรมพัฒนาจิตใจ พัฒนาปัญญา การฟัง การอ่าน การรับข่าวสารข้อมูลเรื่องราวที่ดีงามและเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน
           สรุปโดยย่อ การบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 โดยภาพรวม มีระดับการปฏิบัติเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ส่วนแนวทางการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ของสถานศึกษา ต้องอาศัยหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ประกอบด้วย ทานมัย คือ การแสดงความยินดี ยอมรับเห็นชอบในการทำงานซึ่งกันและกัน ศีลมัย คือ การรักษาศีล ผู้บริหาร ครูและบุคลากร ควรมีการฝึกอบรมพัฒนาการรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน

Article Details

How to Cite
พิมพ์พิลัย ร. (2024). สภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาตามหลักบุญกิริยา วัตถุ 3 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษของจังหวัดชัยนาท. Journal of Sustainable Social Development, 2(2), 1–14. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/J_SSD/article/view/534
บท
Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จักรกฤช วิชา. (2548). เอกสารประกอบรายวิชาการบริหารงานวิชาการ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ บุ๊ค พอยท์.

จิตประสงค์ ทมะนันต์. (2564). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมยุคใหม่ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 9 (3), 1202-1216.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร

พระหนูกัน กตคุโณ (ฤาวิเศษ). (2558). การศึกษาการสร้างบารมี ของชาวบ้าน หนองแวงตอตั้ง ตำบลคึมชาด อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น. วารสารธรรมทรรศน์. 14 (3), 163-173.

สันติ บุญภิรมย์ (2552). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ทิปศ์พับบลิเคชั่น.

สุกัน เทียนทอง. (2546). การบริหารการจัดการและการพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: บุ๊กพอยท์.

สุพล วังสินธ์. (2545). การจัดทำแผนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ. สารพัฒนาหลักสูตร. 12 (114), 5-9.

หวน พินธุพันธ์. (2549). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.