การปรับใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อการบริหารงานวิชาการ ของสถานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ การบริหารงานวิชาการเป็นภารกิจที่สำคัญของการบริหารโรงเรียนตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ถือเป็นพันธกิจสำคัญของการจัดการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนคณะครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย
ผลการศึกษา พบว่า ขอบข่ายของการบริหารงานวิชาการ เป็นการดำเนินงานด้านงานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา งานพัฒนากระบวนการเรียนรู้ งานวัดผลประเมินผลและเทียบโอน การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน งานด้านวิจัยทางการศึกษา งานด้านนิเทศการศึกษา งานด้านห้องสมุด และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับด้านวิชาการ มีหลายหลักการที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา โดยผู้เขียนสรุปแนวคิดออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา และด้านการวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียนสังคหวัตถุ 4 เป็นหลักธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคน ผูกใจคนและประสานหมู่ชนให้มีความสามัคคี เป็นหลักธรรมให้คนเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนทั่วไป เป็นหลักธรรมในการสงเคราะห์ผู้อื่น ทำให้บรรยากาศในการทำงานดี ทำให้สังคมเป็นสุข หากผู้บริหารสถานศึกษาควรนำมาบูรณาการใช้ในการบริหารงานวิชาการและงานด้านอื่น ๆ ในสถานศึกษา จะทำให้เป้าหมายที่วางไว้ประสบผลสำเร็จ บุคลากรด้านการศึกษา เช่น ครู นักเรียน รวมทั้งผู้บริหาร ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
องค์ความรู้ ด้านการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแล้วนำหลักสูตรไปใช้ตามความถนัดและความต้องการของผู้เรียน ด้านการจัดการเรียนรู้ สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูในการใช้สื่อและนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ด้านการวัดผลและประเมินผล สถานศึกษาสนับสนุนให้ครูใช้วิธีการวัดผลและประเมินผลที่หลากหลาย มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการกำหนดรูปแบบข้อสอบวัดผลให้มีความหลากหลาย ด้านการนิเทศการศึกษา สถานศึกษาส่งเสริมให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะครูในการนิเทศชั้นเรียนเพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนา
สรุปโดยย่อ การปรับใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อการบริหารงานวิชาการของสถานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นงานสำคัญของการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา และด้านการวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน ส่วนสังคหวัตถุ 4 เป็นหลักธรรมที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคนและประสานหมู่ชนให้มีความสามัคคี เป็นหลักธรรมในการสงเคราะห์ผู้อื่น ทำให้บรรยากาศในการทำงานดี ทำให้สังคมเป็นสุข ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาจะทำให้บรรลุตัวชี้วัดมาตรฐานทางการศึกษา
Article Details
References
กมล ภู่ประเสริฐ. (2547). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: เสริมสินพรีเพรส ซิสเท็ม.
กระทรวงศึกษาธิการ (2556). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2551). การบริหารงานวิชาการและการนิเทศภายในสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ปัตตานี.
ธีระ รุญเจริญ. (2565). การบริหารเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.
นพพงษ์ บุญจิตราดุล. (2557). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. นนทบุรี: ตรีรณสาร
นิยม รัชตะวัฒน์วินัย. (2560). การบริหารงานด้านวิชาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2550). การบริหารงานด้านวิชาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) (2550). ธรรมนูญชีวิต ฉบับชาวบ้าน. กรุงเทพมหานคร: สถาบัน บันลือธรรม
พระอธิการบุญช่วย โชติวํโส. (2560). การบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยถูมิ เขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2550). การจัดและการบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รัชดา ผูกพยนต์. (2550). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์
สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2556). แนวทางการบริหารจัดการในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: หน่วยศึกษานิเทศก์.
สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2549). คุรุสดุดี ครูผู้ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ประจำปี 2549. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
สุทิน ลีปิยะชาติ. (2545). การบริหารบ้านเมืองทีดี. นิตยสารท้องถิ่น. 2 (11), 30.
อนันตชัย พงศ์สุวรรณ. (2557). การบริหารการศึกษาในคลื่นความเปลี่ยนแปลง. บุรีรัมย์: วินัย.
อรทัย แสงทอง. (2552). หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาสถานศึกษาในเขตตลิ่งชัน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อำภา บุญช่วย. (2548). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.