วิธีการในการจัดการต้นทุนสำหรับการบริหารจัดการองค์กร

Main Article Content

พงศกร แก้วพงษ์

บทคัดย่อ

          การบริหารจัดการต้องมีค่าใช้จ่ายไปสำหรับปัจจัยการผลิตเพื่อให้เกิดผลิต ต้นทุนจึงเป็นส่วนที่ใช้สำหรับการนิยามการเพิ่มผลผลิตหรือผลิตภาพ (productivity) ซึ่งเท่ากับผลผลิต หารด้วยปัจจัยนำเข้า ต้นทุนจึงเป็นมูลค่าที่วัดได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรที่ใช้ และต้นทุนมีลักษณะที่จ่ายไปเพื่อให้ผลผลิตสินค้าและบริการ ต้นทุน (Cost) เป็นมูลค่าของทรัพยากรที่สูญเสียไปเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการโดยวัดเป็นหน่วยเงินตรา ซึ่งเป็นต้นทุนในการดำเนินงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการองค์กรให้ไปสู่เป้าหมายสูงสุด โดยสามารถแยกตามลักษณะงานได้สองกลุ่มใหญ่ คือ ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการ และต้นทุน เกี่ยวกับการบริหาร วัตถุประสงค์บัญชีต้นทุน ประกอบด้วย การประเมินราคาขาย   การใช้ในการวัดผลการดำเนินงานประจำงวด ใช้ในการตั้งราคาสินค้าและบริการ และใช้ในการวางแผนการควบคุมการดำเนินธุรกิจ ประโยชน์ของบัญชีต้นทุน ได้แก่ ด้านการวางแผน คือ กระบวนการของการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของกิจการ ด้านการจัดการองค์กร คือ การแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรให้มีความชัดเจน ลดความซ้ำซ้อน ด้านการควบคุม คือ ข้อมูลที่ต้นทุนกำหนดตามแผนงบประมาณ ได้มาจากการวิเคราะห์หรือข้อมูลในอดีตที่ผ่านมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานของผู้บริหาร ด้านการตัดสินใจ คือ ข้อมูลจากบัญชีต้นทุนใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล และใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจของผู้บริหารด้านต่างๆ จำแนกต้นทุนออกเป็น จำแนกต้นทุนตามลักษณะส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ การจำแนกต้นทุนตามความสำคัญและลักษณะของต้นทุนการผลิต การจำแนกต้นทุนตามความสัมพันธ์กับระดับของกิจกรรม การจำแนกต้นทุนตามความสัมพันธ์กับหน่วยของต้นทุน และการจำแนกต้นทุนตามหน้าที่งานในสายการผลิต การบริหารจัดการองค์การ หมายถึง การใช้ศาสตร์และศิลป์ของบุคคล ตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป ร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมหรืองานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การที่วางไว้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยใช้ต้นทุนการบริหารต่ำสุด
          องค์ความรู้ใหม่ การจัดทำบัญชีต้นทุนเป็นกระบวนการทางบัญชีที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ข้อมูลสำหรับการวางแผน การบัญชีเพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการบัญชีต้นทุน (Cost Accounting) เป็นการจัดทำข้อมูลทางการบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนของผู้ประกอบการ ต้นทุนกระบวนการธุรกิจ ประกอบด้วย ต้นทุนที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และต้นทุนเกี่ยวกับการบริหาร โดยข้อมูลของต้นทุนที่ผู้เกี่ยวข้องต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจเพื่อการวางแผนดำเนินงานและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในอนาคต เป็นไปด้วยเติบโตอย่างยั่งยืน ที่จะนำไปสู่การประเมินคุณค่าของผลิตภัณฑ์และราคาขาย ทำให้กิจการได้ทราบถึงกำไรขั้นต้น และผลดำเนินงานในรอบเวลาหนึ่ง ว่ากิจการมีผลกำไรหรือขาดทุน และข้อมูลต้นทุนต่อหน่วยมีความสำคัญมากกับการตัดสินใจทางการตลาด
          สรุปโดยย่อ ต้นทุน (Cost) เป็นมูลค่าของทรัพยากรที่สูญเสียไปเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการ    วัดเป็นหน่วยเงินตรา เป็นต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการองค์การให้ไปสู่เป้าหมายสูงสุด ต้นทุน ได้แก่ คือ 1) ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการ และ 2) ต้นทุนเกี่ยวกับการบริหาร วัตถุประสงค์บัญชีต้นทุน ได้แก่ การประเมินราคาขาย การใช้ในการวัดผลการดำเนินงาน ใช้การตั้งราคาการวางแผนการควบคุมการดำเนินธุรกิจ ประโยชน์ของบัญชีต้นทุน ได้แก่ ด้านการวางแผน  ด้านการจัดการองค์กร ด้านการควบคุม และด้านการตัดสินใจ

Article Details

How to Cite
แก้วพงษ์ พ. (2024). วิธีการในการจัดการต้นทุนสำหรับการบริหารจัดการองค์กร. Journal of Sustainable Social Development, 2(6), 19–35. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/J_SSD/article/view/1166
บท
Articles

References

กชกร เฉลิมกาญจนา. (2557). การบัญชีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงมณี โกมารทัต. (2553). การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไตรรงค์ สวัสดิกุล. (2559). การบัญชีเพื่อการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรพงศ์ ประดิษฐกุล. (2567). ทฤษฎีองค์การและจัดการสมัยใหม่. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.thaiprint.org/2020/12/vol128/knowledge128-03/กรุงเทพมหานคร: สมาคมการพิมพ์ไทย.

เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ. (2553). การบัญชี 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัทซีเอ็ด ยูนิเคชั่น จำกัด.

เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ. (2560). กลยุทธ์การบริหารต้นทุนเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธรรมนิติ.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2554). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.

พรรณนิภา รอดวรรณะ. (2560). การบัญชีต้นทุนหลัก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พินิจ เนาวพันธ์. (2555). การบัญชีเพื่อการบริหารธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

มนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2556). การบัญชีต้นทุน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2556). การจัดการภาครัฐแนวใหม่. กรุงเทพมหานคร: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2558). การบริหารการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). ปัจจัยทางการบริหารกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ : ข้อเสนอแนะผลการวิจัยเพื่อการพัฒนาและเพื่อการวิพากย์. กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2557). การบัญชีเพื่อการจัดการและบริหารต้นทุน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธรรมนิติ เพรส จำกัด.

เอกชัย เอกขุนฤทธ์. (2556). การจัดองค์การ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/518309 Books.

Gulick, L. and Urwick, J. (1973). Paper on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration.

Hughes, Owen E. (2012). Public management and administration. 4th ed. New York: Palgrave Macmillan.