กระบวนการบริหารขีดความสามารถและอัตรากำลัง ของบุคลากรภายในองค์กร

Main Article Content

แพรววา อุตราทิพย์

บทคัดย่อ

          ความสำคัญของบุคลากรจะช่วยให้บุคลากรได้วางแผนให้ตนเองเกี่ยวกับความสามารถที่จะปฏิบัติงาน ตั้งแต่การเตรียมตัวเพื่อพัฒนาคุณลักษณะให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์การ จะทำและสามารถรับการเปลี่ยนแปลงได้ ข้อค้นพบ นักวิชาการจากสาขาใดก็ตามต่างมีมุมมองเกี่ยวกับขีดความสามารถของบุคลากร โดยมุ่งไปที่การประสบผลสำเร็จ ตั้งแต่ในระดับบุคคลไปจนถึงความสำเร็จในระดับการดำเนินธุรกิจขององค์การ โดยขีดความสามารถของบุคลากรในองค์การที่มีองค์ความรู้ ทักษะและมีคุณลักษณะส่วนบุคคล ที่เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งขีดความสามารถสร้างความแตกต่างทำให้บุคคลนั้นประสบผลสำเร็จ ซึ่งจะนำไปสู่การประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจขององค์การ ส่วนโมเดลขีดความสามารถ ประกอบด้วยขีดความสามารถหลัก และขีดความสามารถในงาน โดยอบ่งขีดความสามารถในงาน ออกเป็น 2 ส่วนคือ ขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการ (Professional Competency หรือ Managerial Competency) และขีดความสามารถที่เชี่ยวชาญในงาน  (Technical Competency) ทั้งนี้เนื่องจากบุคลากรใน 1 ตำแหน่ง จะมีลักษณะงานอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นการบริหารจัดการ กับส่วนที่เป็นความเชี่ยวชาญในงาน ดังนั้นการกำหนดโมเดลขีดความสามารถจึงไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ทั้งนี้การกำหนดโมเดลขีดความสามารถมีองค์ประกอบอะไรบ้างนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะงานขององค์การนั้นๆ และขึ้นอยู่กับความต้องการขีดความสามารถไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง การวางแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่งเป็นการวางแผนและคาดการไว้ล่วงหน้า เกี่ยวกับอัตรากำลังบุคลากร เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานขององค์การไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคธุรกิจเอกชน ให้สามารถปฏิบัติงานในองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงความต้องการว่าจะต้องเพิ่มจำนวนเท่าใด โดยการวิเคราะห์งานโดยไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน นำเสนอแผนอัตรากำลังเพื่อความเห็นชอบต่อผู้บริหาร และนำแผนอัตรากำลังขององค์การสู่การปฏิบัติ และติดตามประเมิน การวางแผนอัตรากำลังบุคลากร ประกอบด้วยการเก็บข้อมูลกำลังคน การพยากรณ์อุปสงค์กำลังคน การพยากรณ์อุปทานกำลังคน การวิเคราะห์การใช้กำลังคน การพยากรณ์ปัญหาด้านกำลังคน การจัดทำแผนกำลังคน และการนำแผนมาปฏิบัติ ตรวจสอบ และประเมินผล
          องค์ความรู้ใหม่ พบว่า คุณสมบัติเบื้องต้นของพนักงานในองค์การ เป็นขีดความสามารถที่กำหนดขึ้นตามตำแหน่งงาน (Functional Competency) ซึ่งแต่ละตำแหน่งงานอาจเหมือนกันทั้งหมดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะตำแหน่งงานของแต่ละองค์การ สามารถกำหนดโมเดลขีดความสามารถ (Competency) แตกต่างกันได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงานในองค์การนั้นๆ การกำหนดโมเดลขีดความสามารถประกอบด้วย 4 กลุ่ม คือ  ขีดความสามารถหลัก (Core Competency) ขีดความสามารถในการผลิต (Product Competency)  ขีดความสามารถด้านเทคนิค (Technical Competency) และขีดความสามารถตามกฎระเบียบ (Regulation Competency)
          สรุปโดยย่อ โมเดลขีดความสามารถ ประกอบด้วย ขีดความสามารถหลัก และขีดความสามารถในงาน โดยอบ่งขีดความสามารถในงาน ออกเป็น 2 ส่วนคือ ขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการ และขีดความสามารถที่เชี่ยวชาญในงาน ส่วนการวางแผนอัตรากำลังบุคลากร ประกอบด้วย การเก็บข้อมูลกำลังคน การพยากรณ์อุปสงค์กำลังคน การพยากรณ์อุปทานกำลังคน การวิเคราะห์การใช้กำลังคน การพยากรณ์ปัญหาด้านกำลังคน การจัดทำแผนกำลังคน และการนำแผนมาปฏิบัติ ตรวจสอบ และประเมินผล

Article Details

How to Cite
อุตราทิพย์ แ. (2024). กระบวนการบริหารขีดความสามารถและอัตรากำลัง ของบุคลากรภายในองค์กร. Journal of Sustainable Social Development, 2(6), 1–18. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/J_SSD/article/view/1165
บท
Articles

References

จิรประภา อัครบวร. (2559). สร้างคนสร้างผลงาน. กรุงเทพมหานคร: เต๋า (2000)

ฐิติพัฒน์ พิชญธาดาพงศ์. (2548). การพัฒนาระบบสมรรถนะของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพมหานคร: ปูนซีเมนต์ไทย.

ธงชัย สันติวงษ์. (2553). การบริหารงานบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ธรรมนูญ มิตรเทวิน และ อัมรินทร์ พาราพิบูล. (2558). การพัฒนาขีดความสามารถขีดความสามารถในยุคปัจจุบัน. Journal of HRintelligence. 10 (2), 1

ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2558). เริ่มต้นอย่างไรเมื่อจะนำ COMPETENCY มาใช้ในองค์กร. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

นงนุช วงษ์สุวรรณ. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.

นิสดารก์ เวชยานนท์. (2559). Competency-base Approach. กรุงเทพมหานคร: พริ้นต์โพร.

บุญประคอง พรรหมพงษ์. (2549). แนวทางการนำขีดความสามารถหลักมาประยุกต์ใช้ในการบริหารค่าตอบแทน กรณีศึกษา บริษัทผู้ผลิตยาแห่งหนึ่ง. ภาคนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. โครงการบัณฑิตศึกษาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, สถาบันบัณฑิตบริหารศาสตร์.

ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร. (2567). การวิเคราะห์อัตรากำลังคนที่เหมาะสมต้องมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง. Think People Consulting. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 30 กันยายน 2567. แหล่งที่มา: https://www. thinkpeoplepay.com/post/read/74.

มนูญ ตนะวัฒนา (2537). การบริหารธุรกิจยุคใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ธีรพงษ์การพิมพ์.

สมยศ นาวีการ. (2556). การบริหาร. กรุงเทพมหานคร: สมหมายการพิมพ์.

สมาน รังสิโยกฤษฏ์. (2545). การบริหารงานบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์. (2549). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ : หลักการและแนวคิด Human Resource Management: Principle and Concept. กรุงเทพมหานคร: เวิล์ดเทรด ประเทศไทย.

สีมา สีมานันท์. (2548). ว่าด้วยเรื่องสมรรถนะในมุมมองเลขาธิการ ก.พ., วารสารข้าราชการ. 50 (1), 1-4.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2558). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency. กรุงเทพมหานคร: ศิรัฒนา อินเตอร์พริ๊นท์.

สุภาพร พิศาลบุตร. (2557). การสรรหาและบรรจุพนักงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬากรณ์มหาวิทยาลัย.

เสนาะ ติเยาว์. (2552). หลักการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

แสงสุรีย์ ทัศนพูนชัย. (2558). การพัฒนาความสามารถในการทำงาน. วารสารเพื่อคุณภาพ (For Quality). 12 (91), 110-113.

อรทิพา ส่องศิริ. (2545). การสร้างเกณฑ์การประเมินสมรรถนะของการพยาบาลทางคลินิกสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

อาภารณ์ ภู่วิทยาพันธุ์. (2560). Competency Based HRM/HRD. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.