ปรัชญาการเมืองว่าด้วยเรื่องสบตาความตาย บทวิเคราะห์ข้อความคิดของชีวิต เพื่อโอบกอดความตาย

Main Article Content

สุริยะ หาญพิชัย

บทคัดย่อ

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทางปรัชญาการเมืองว่าด้วยเรื่องสบตาความตาย และพัฒนาสร้างสรรค์ความเข้าใจการโอบกอดความตายตามความเป็นจริงของชีวิต ซึ่งความตายตามแนวคิดทางปรัชญา การเมือง เศรษฐกิจ และกฎหมายนั้นเป็นสภาวะที่อยู่กันคนละขั้วกับชีวิตอันก่อให้เกิดการสูญเสีย ความพลัดพรากเป็นเหตุให้มนุษย์มองความตายเป็นสิ่งน่ากลัว และไม่เป็นที่พึงปรารถนาเพราะทำให้ชีวิตมีขอบเขตจำกัด ซึ่งดูเหมือนความตายเป็นชีวิตที่ถูกซ้อนไว้ เป็นสิ่งไกลตัวและไร้ประโยชน์ แต่ในความเป็นจริงกลับตรงข้ามอย่างสิ้นเชิง มโนทัศน์เรื่องความตายแสดงถึงคู่ตรงข้ามกับชีวิตที่รวมเป็นหนึ่งเดียวระหว่างร่างกายและวิญญาณ ความตายในฐานะเป็นหนทางสู่ความแตกสลายทางรูปทรง และความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ถูกปิดบัง มโนทัศน์ความตายเหล่านี้อาจดูเหมือนขัดแย้งกับสามัญสำนึกและห่างไกลกับความเป็นชีวิตมนุษย์ ทว่าหากพิจารณาความจริงในชีวิตมนุษย์ไม่อาจลบล้างความตายได้ ชีวิตกับความตายเป็นสภาพคู่สัมพันธ์เชื่อมโยง เมื่อมีชีวิตย่อมไม่มีความตาย เมื่อเกิดความตายย่อมสิ้นไร้ชีวิต

Article Details

How to Cite
หาญพิชัย ส. (2025). ปรัชญาการเมืองว่าด้วยเรื่องสบตาความตาย บทวิเคราะห์ข้อความคิดของชีวิต เพื่อโอบกอดความตาย. Journal of Sustainable Social Development, 3(1), 1–16. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/J_SSD/article/view/1018
บท
Articles

References

กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์. (2564). จากดับสูญสู่นิรันดร์ : ส่องวิถีหลังความตายจากหลากหลายวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: บุคสแคบ.

ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2542). ญาณวิทยา (ทฤษฎีความรู้). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐยา วาสิงหน. (2541). ความหมายของความตายการตีความตามพุทธปรัชญา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2540). ความรัก/ความรู้/ความตาย: เมื่ออาทิตย์เริ่มอัสดง. วารสารสังคมศาสตร์. 30 (2). 1-25.

พระพจนันท์ กุมพล และ คำแหง วิสุทธางกูร. (2561). มโนทัศน์เรื่องความตายในทัศนะศรี อรพินโท. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 18 (3). 417-435.

พิศาล มุกดารัศมี. (2562). ความกลัวความตายกับปรัชญาการเมือง. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์. (2549). ศาสนาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: บี เอส การพิมพ์.

ฟื้น ดอกบัว. (2555). ปวงปรัชญากรีก (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์.

ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร. (2561). การยอมรับความตาย. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 62 (5). 761 – 772.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2559). สุขสุดท้ายที่เลือกได้. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.

สุวรรณา สถาอานันท์. (2539). มโนทัศน์เรื่องความตายในคัมภีร์จวงจื๊อ. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อดิศักดิ์ ทองบุญ. (2563). ชีวิตและความตาย ตามทรรศนะของพระพุทธศาสนาและตามทรรศนะของนักปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อภิโชค เกิดผล. (2563). พินิจ "ความตาย" ในฐานะปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม. วารสารธรรมศาสตร์. 39 (1). 183-201.

Ava Chitwood. (2006). Death by Philosophy. Michigan: The University of Michigan Press, 1.

Gilles Deleuze. (1988). Spinoza: Practical Philosophy. San Francisco: City Lights Books, 12-13.

Jacques Derrida. (2020). Life Death. Chicago: University of Chicago Press.

Jacques Derrida. (1996). The Gift of Death. Chicago: University of Chicago Press, 41-43.

Jean Birnbaum. (2007). Learning to Live Finally: An Interview with Jean Birnbaum. New Jersey: Melville House, 24.

Maurice Blanchot. (1994). Work of Fire. California: Stanford University Press, 300.

Norbert Elias. (2001). Loneliness of the Dying. New York: Continuum, 3- 8.

Philippe Ariès. (1976). Western Attitude Toward Death. translated by Patricia M. Ranum. London: Marion Boyars, 2-3.